Saturday, May 20, 2006

ข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายการศึกษา

ข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองในประเทศไทย

    1. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ได้มี การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากการให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตร 9(1))
    จึงเป็นการสมควรที่พรรคการเมืองไทยจะได้ศึกษาแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พ.ร.บ. โดยกำหนดเป็นนโยบายการศึกษาที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ดังกล่าว

    2. ใน พ.ร.บ.ยังได้กำหนดกลไกในการจัดการศึกษา เช่นการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชน ครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันสังคมอื่นๆ
    พรรคการเมืองจึงควรที่จะหยิบยก ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือบางประเด็นมา ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของพรรค และกำหนดนโยบายการศึกษาที่ ส่งเสริม และวางแนวปฏิบัติขยายผล โดยคำนึงถึงรูปแบบของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักสำคัญ
    3. พรรคการเมืองสามารถที่จะกำหนดนโยบายในรูปของโครงการใหม่ ๆ ในบริบทต่าง ๆของพ.ร.บ. การศึกษา  และกำหนดงบประมาณสนับสนุน เช่นการจัดการศึกษาแก่คนพิการ หรือบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ

    4. พรรคการเมืองสามารถมีบทบาทที่สำคัญในการหยิบยกปัญหาในด้านการศึกษา และกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เช่น ปัญหาความไม่เสมอภาคในการให้การศึกษา ปัญหายาเสพย์ติดในโรงเรียน เป็นต้น
    การกำหนดนโยบาย ตลอดจนมาตการในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น จะเป็นทางหนึ่งที่ทำให้สาธารณชนได้รับรู้ถึงปัญหาพร้อมทั้งแนวทางแก้ไขที่พรรคการเมืองจะดำเนินการ

    5. การกำหนดนโยบายการศึกษาในเรื่องของเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ประเทศไทยมีทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก จึงสมควรที่พรรคการเมืองจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยการกำหนดไว้เป็นนโยบาย

    6. นโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับครู และผู้ปกครอง ซึ่งมีส่วนสำคัญที่สุดในกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในวัยเรียนระดับต่าง ๆ

7. แม้ว่าใน พ.ร.บ. การศึกษา จะให้ควาสำคัญกับการกระจายอำนาจการศึกษาจากส่วนกลางไปยังเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่รัฐบาลและพรรคการเมืองสามารถกำหนดมาตรฐานการศึกษา ตลอดจนการจัดสรรเงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินช่วยเหลือ ตลอดจนการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ได้

8. พรรคการเมืองมีอำนาจในการใช้กลไกระบบภาษีและเงินอุดหนุน รวมทั้งเงินกู้เพื่อการศึกษา โดยสามารถกำหนดไว้เป็นนโยบายการศึกษาได้

No comments: