Friday, June 9, 2006

ปัญหานโยบายการศึกษา

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักก็คือ การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศทุกด้าน แต่รัฐบาลแทบทุกยุคสมัยกลับไปมุ่งเน้น เฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก บางรัฐบาลจัดให้การศึกษาอยู่ในลำดับความสนใจกลุ่มท้าย ๆ และแม้ปัจจุบันจะอยู่ในช่วงปฏิรูปทางการศึกษา มีการลงทุนก้อนโต แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าจะนำไปสู่การพัฒนาแท้จริงหรือไม่ ดังปรากฏข้อเท็จจริงว่าเรามีงบประมาณด้านการศึกษาถึงสามแสนล้านบาท แต่เมื่อประเมินผลการศึกษาก็พบว่าไม่ได้เน้นการพัฒนาในเชิงคุณภาพ เห็นจาก การสอบวัดผลของนักเรียนระดับมัธยมปลายคราวที่ผ่านมา ส่วนใหญ่คะแนนออกมาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้น

แนวคิดเกี่ยวกับปัญหานโยบายการศึกษาแห่งชาติ 
ขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหานโยบาย ในยุคที่รัฐบาลหาเสียงโดยยึดหลักประชานิยม ดังนี้
             1. นโยบายด้านการศึกษา ต้องเกิดจากความจริงใจในการพัฒนา เพราะต้องใช้เวลานานเกินสมัยที่รัฐบาลครองอำนาจ โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่เน้นประชานิยม จะไม่สนใจนโยบายการศึกษา
              2. นโยบายที่ผู้นำรัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา ดูดีทั้งนั้น แต่ปัญหาจริงๆ อยู่ที่การนำนโยบายไปปฏิบัติ(Implementation) ว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจ ต่อนโยบายที่ตนแถลงเพียงใด
              3. นโยบายด้านการศึกษาที่ผ่านมา สวนทางโดยสิ้นเชิงกัยวิธีปฏิบัติ ทีให้มีการประเมิน โดยทั้ง สมศ. และ กพร. 2 องค์กรนี้มีพันธกิจหลักในการ "พัฒนา" ระบบการศึกษา และระบบราชการ แต่ศึกษาดูดีๆ จะพบว่า 2 หน่วยนี่แหละทำให้การพัฒนาทั้งการศึกษา และระบบราชการต้องล่าช้า ด้วยรายละเอียดการประเมิน ตัวชี้วัดต่างๆ ที่ค่อนข้างไร้สาระ แต่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานจริงเสียเวลามากมาย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(มีนาคม 2544) ได้เสนอปัญหาอุปสรรคในการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา ดังนี้
1)    การเสียสิทธิของประชาชนในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2)    การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ลงถึงการปฏิบัติ
3)    วิกฤติศรัทธาต่อครู
4)    มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
5)    การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6)    วิทยาศาสตร์การศึกษา
7)    การปฏิรูปการอาชีวศึกษา
8)    การปฏิรูปอุดมศึกษา
9)    วิกฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม
      ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวมีสาเหตุแห่งปัญหาร่วมกันคือ
1)    การขาดการประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
2)    ความล่าช้าของกระบวนการพิจารณากฎหมาย กฎกระทรวง และกฎหมายอื่น
3)    การขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
4)    ช่องว่างระหว่างหน่วยงานนโยบายและหน่วยงานปฏิบัติ

No comments: