Saturday, November 26, 2011

การวางแผน “จัดลำดับความสำคัญ”


ในที่นี้ ผมจึงใคร่ขอเสนอหลักคิดง่าย ๆ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการวางแผน “จัดลำดับความสำคัญ” งาน เพื่อช่วยให้รับมือกับงานที่อยู่ในความรับผิดชอบและงานใหม่ที่มีโอกาสเข้ามาได้ตลอดเวลา ดังนี้
ใช้หลัก “สำคัญ” & “เร่งด่วน”
การจัดเรียงลำดับงานโดยยึดหลัก ความสำคัญและความเร่งด่วน จะทำให้เราสามารถแบ่งงานออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) งานสำคัญและเร่งด่วน 2) งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน 3) งานเร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ และ 4) งานไม่เร่งด่วนและไม่สำคัญ
เมื่อจำแนกงานออกเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน เราพึงเปรียบเทียบคุณค่าของงานและคุณภาพของเวลาที่ต้องการใช้ในการปฏิบัติงานแต่ละชิ้นอย่างเหมาะสม วิธีเช่นนี้เมื่ออยู่ในสถานการณ์วิกฤตหรือคับขัน เราจะสามารถเลือกที่จะทำงานบางชิ้น ตัดบางชิ้นออก หรือตัดทอนเวลาให้ลดลงได้ จะทำให้เราลดความสับสน สามารถแก้ปัญหาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ใช้หลัก “บันทึกตารางเวลา”
การบันทึกตารางเวลาทำงาน จะทำให้เราสามารถเปรียบเทียบเป้าหมายในการทำงานกับเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ชัดเจน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เราสามารถตรวจสอบที่มาของกิจกรรมที่ทำให้เราเสียเวลาอย่างเปล่าประโยชน์ เช่น รับโทรศัพท์ เดินติดต่อในสำนักงาน เป็นต้น ทำให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
ใช้หลัก “กำหนดเวลาทำงานให้น้อยลง”
ศาสตราจารย์พาร์คินสันได้เคยกล่าวไว้ว่า “งานย่อมยืดยาวออกไปจนครบเวลาที่ให้ไว้เพื่อให้งานเสร็จ” ดังนั้นเราพึงกำหนดเวลาส่งงานของเราแต่ละชิ้นให้เร็วขึ้น เพื่อกระตุ้นตัวเองให้มีประสิทธิเสมอ งานบางประเภทที่สามารถทำให้เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง ไม่ควรยืดเวลาออกไปจนถึง 1 วัน หลักการทำงานส่วนตัวของผม ผมพยายามเคลียร์งานให้หมดโต๊ะทุกวัน เพราะการที่เราใช้เวลากับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งเกินกว่าความจำเป็นเป็นการสูญเสียเวลาอย่างเปล่าประโยชน์ หากเราทำงานเสร็จเร็ว เราจะมีเวลาไปทำงานอื่น ๆ ได้มากขึ้น จะทำให้เราขยายศักยภาพในการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น
ใช้หลัก “ส่วนน้อยสำคัญ ส่วนใหญ่ไม่สำคัญ”
ปาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวตาเลียน ได้กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่สำคัญในกลุ่มที่กำหนดไว้กลุ่มหนึ่ง ปกติแล้วจะเป็นเพียงส่วนน้อยของทั้งหมดในกลุ่ม” เมื่อเรามีปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบจำนวนมากให้เราจัดทำรายการของงานแต่ละชิ้น พิจารณาดูว่าในแต่ละรายการนั้น มีรายการใดที่มีความสำคัญ และเมื่อเราลงมือทำจะเกิดประโยชน์ต่อภาพรวมเพียงใด เมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเลือก ให้เราเลือกทำรายการสำคัญประมาณ 20 % ของรายการทั้งหมดในช่วงเวลานั้น แม้รายการที่เหลือเรายังไม่ได้ทำ หรือทำไม่เสร็จตามกำหนด จะไม่เป็นเหตุส่งผลกระทบต่อองค์กรมาก
ใช้หลัก “แบ่งงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ”
งานบางประเภทเป็นงานที่มีความยากและต้องการเวลาที่มีคุณภาพในการปฏิบัติงาน วิธีที่จะช่วยให้เราสามารถทำงานประเภทนี้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ถูกรบกวนแม้มีงานใหม่แทรกเข้ามา ให้เราแบ่งงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และกำหนดเส้นตายของงานในแต่ละชิ้น ไล่ตามลำดับความต่อเนื่องของงาน การปฏิบัติงานเสร็จตามกำหนดในแต่ละช่วง จะช่วยให้เราเกิดกำลังใจในการทำงานชิ้นถัดไป วิธีนี้จะช่วยให้งานของเรามีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ช่วยแก้ปัญหางานค้างได้เป็นอย่างดี
การวางแผนจัดลำดับงานก่อนลงมือทำเสมอ จะส่งผลให้เกิดทักษะเพิ่มพูนความแม่นยำในการเรียงงานได้อย่างถูกลำดับ ลงน้ำหนักงานได้ถูกจุดมากขึ้นเรื่อย ๆ อันนำมาซึ่งโอกาสการทำงานเสร็จครบทุกชิ้นอย่างมีคุณภาพเข้าขั้น “มืออาชีพ” ได้มากกว่าการลุยทำโดยไม่มีการวางแผน ดุจ “มวยวัด” อันยากจะทำงานได้สำเร็จครบตามเป้า…อย่างราบรื่นเทียบเท่า

Monday, September 26, 2011

รัฐบาลใช้หลักการใดจัดลำดับความสำคัญ

รัฐบาลใช้หลักการใดจัดลำดับความสำคัญ

ทัศนะวิจารณ์ : ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

มติของคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ที่จะดึงโครงการเมกะโปรเจค ได้แก่ รถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีม่วง สีน้ำเงิน และสีแดง ออกจากโครงการโมเดิร์นไนเซชั่น เพื่อมาดำเนินการก่อน โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปตามลำดับความสำคัญ แต่คำถามคือ “โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายมีลำดับความสำคัญสูงสุดจริงหรือไม่”

ในช่วงรัฐบาลทักษิณ 1 คณะทำงานนโยบายเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง ที่มีนายโอฬาร ไชยประวัติ เป็นประธาน ได้เห็นชอบหลักการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเมกะโปรเจค โดยมีหลักการ 4 ประการคือ โครงการที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยดูจาก Internal Rate of Return (IRR) โครงการที่ให้ผลตอบแทนเร็ว โครงการที่มีการนำเข้าปัจจัยการผลิตต่ำ และโครงการที่มีการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ

ต่อมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ทำการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการเมกะโปรเจค ตามหลักการ 4 ประการข้างต้น ผลการศึกษาพบว่า โครงการโทรคมนาคมมีลำดับความสำคัญสูงสุด โครงการด้านการศึกษาและสาธารณสุข โครงการที่อยู่อาศัย โครงการคมนาคมทางอากาศ โครงการเกษตรกรรมและชลประทาน โครงการพลังงาน มีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ และโครงการคมนาคมทางบก (รวมทั้งรถไฟฟ้า) มีลำดับความสำคัญต่ำ

แต่รัฐบาลไม่ได้จัดลำดับความสำคัญตามที่ได้ศึกษาไว้ โดยให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟฟ้ามากกว่าโครงการด้านน้ำ ทั้งที่โครงการด้านน้ำมีลำดับความสำคัญสูงกว่า สังเกตได้จากโครงการด้านน้ำถูกลดเป้าหมายลงเรื่อย ๆ เพราะจากการศึกษาของหน่วยราชการพบว่า หากดำเนินโครงการน้ำทั้งระบบต้องใช้งบ 1 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลเปิดตัวโครงการเมื่อ 23 กรกฎาคม 2546 ประกาศจะใช้เงินลงทุน 4 แสนล้านบาท แต่ต่อมาลดลงเหลือเพียง 2 แสนล้านบาท ขณะที่โครงการรถไฟฟ้ากลับได้รับความสำคัญมากขึ้น จากเดิมที่รัฐบาลประกาศสร้างรถไฟฟ้า 7 สาย แต่ต่อมากลับเพิ่มขึ้นอีก 3 สาย เป็น 10 สาย ทั้ง ๆ ที่อีก 3 สายที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีผลการศึกษา

คำถามคือ “รัฐบาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดลำดับความสำคัญ” ในเมื่อไม่ใช่หลักการในเชิงวิชาการที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว คำถามต่อมา คือ “เหตุใดรัฐบาลจึงเลือกทำรถไฟฟ้า 3 สายดังกล่าวก่อน” แต่ไม่เลือกอีก 7 สายที่เหลือ

คำตอบหนึ่งของคำถามนี้ น่าจะเป็นประเด็นความพร้อมในการลงทุน เพราะรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ได้มีการศึกษาและออกแบบไปมากกว่าหลาย ๆ สาย แต่มีข้อที่น่าสังเกตว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เลือก ทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน และเขียวเข้มก่อน ทั้ง ๆ ที่มีความพร้อมและมีความสำคัญสูง

หากเปรียบเทียบลำดับความสำคัญของโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ โดยใช้หลักการ 4 ประการข้างต้น เราจะพบว่า หลักการด้านระยะเวลาให้ผลตอบแทน การนำเข้าปัจจัยการผลิต และการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ไม่น่าจะแตกต่างกัน ดังนั้นลำดับความสำคัญของโครงการรถไฟฟ้าจึงสามารถพิจารณาได้จากหลักการเดียวเท่านั้น คือ อัตราผลตอบแทนของการลงทุน โดยดูจากดัชนี IRR

ผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรพบว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม (ส่วนต่อขยาย BTS) เป็นโครงการที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าสายอื่น (ตารางที่ 2) แต่รัฐบาลกลับไม่สนับสนุนการลงทุนในรถไฟฟ้า 2 สายนี้ก่อน และดูเหมือนมีทีท่าพยายามกีดกันไม่ให้ กทม.ทำส่วนต่อขยาย BTS ด้วย

ข้อสรุปของพฤติกรรมดังกล่าวของรัฐบาลที่น่าจะเป็น คือ เป็นเหตุผลทางการเมือง เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ หลักการในการจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาลนี้ จึงเป็นไปเพื่อคะแนนนิยมทางการเมืองเป็นสำคัญ มิใช่เพื่อผลประโยชน์โดยส่วนรวมของประเทศชาติ
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

Saturday, September 10, 2011

โตไปแล้วไม่โกง คำตอบจากฮ่องกง


โตไปแล้วไม่โกง คำตอบจากฮ่องกง
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า คนเราตัดสินใจโดยการเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้กับต้นทุนที่เกิดจากการเลือก เมื่อนักเศรษฐศาสตร์นำเอาแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ข้อเสนอสูตรสำเร็จที่ออกมา คือ ต้องเพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการ และนักการเมือง ควบคู่ไปกับการกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง มีการบังคับใช้ที่เข้มงวด ไม่เลือกหน้าอินทร์หน้าพรหม

แม้ว่าข้อเสนอนี้ มีความสมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะหากปัญหาคอร์รัปชันเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ นั่นก็แสดงว่า คนใหญ่คนโตของประเทศเองก็ต้องมีเอี่ยวด้วยไม่มากก็น้อย แล้วจะหวังให้คนเหล่านี้จริงจังกับการปราบคอร์รัปชันได้อย่างไร

นักเศรษฐศาสตร์ชาวสเปนสองท่านชื่อว่า Esther Hauk Maria และ Saez-Marti ได้พัฒนาแบบจำลอง โดยใช้ฮ่องกงเป็นกรณีศึกษา เพื่อแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ประเทศที่คนใหญ่คนโตโกงกินกัน ก็ยังมีโอกาสที่จะหลุดพ้นจากวังวันแห่งความสิ้นหวังนี้ได้ หากสภาพทางวัฒนธรรมเป็นใจ

แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมา ใช้ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันของฮ่องกงอดีต เพื่อวิเคราะห์ว่าเหตุใดการฮ่องกงถึงได้ประสบความสำเร็จมากขนาดนี้ การศึกษาของเขาได้ข้อสรุปเป็น 2 ข้อ ดังนี้

ข้อแรก การเพิ่มต้นทุนในการคอร์รัปชันด้วยการเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมของภาครัฐและการตรวจสอบการทำงานของข้าราชการและนักการเมืองอย่างเข้มข้นมีผลทำให้การคอร์รัปชันลดลงได้

ข้อที่สอง การจะปราบปรามคอร์รัปชันให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยจะต้องให้ทำควบคู่ไปกับการให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ต่อต้านการคอร์รัปชันเข้าไปแทนที่วัฒนธรรมเดิมๆ ซึ่งเพิกเฉยต่อปัญหานี้

แทนที่จะยกเอาแบบจำลองของเขามาอธิบาย เราจะมาดูกันว่า ในทางปฏิบัติแล้ว ฮ่องกงเขาปราบคอร์รัปชันสำเร็จได้อย่างไร

ในปี 2517 ฮ่องกงได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (Independent Commission Against Corruption หรือ ICAC) ตอนนั้นก็ไม่ค่อยมีใครตั้งความหวังกับ ICAC สักเท่าไร คิดว่าสุดท้ายคงไม่แคล้วลงเอยเหมือนกับความพยายามหลายครั้งก่อนหน้านี้

แต่แล้ว ICAC ก็ได้สร้างความประหลาดใจให้กับชาวฮ่องกงและชาวโลกที่สนใจติดตามการทำงานของพวกเขา การคอร์รัปชันของฮ่องกงค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่สามารถสยบปัญหานี้อย่างราบคาบ แต่เกาะฮ่องกงก็สะอาดและสูงขึ้นเป็นกอง

ความสำเร็จของ ICAC เกิดจากการใช้มาตรการทางกฎหมายควบคู่ไปกับการสร้างชุดคุณค่าใหม่ให้แก่สังคม เพราะทีมงานเชื่อว่า “ทัศนคติ” ของประชาชนเกี่ยวกับการคอร์รัปชันมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวิธีการแก้ปัญหา

ความล้มเหลวในอดีต เกิดจากการให้น้ำหนักกับการออกตัวบทกฎหมายซึ่งมีบทลงโทษรุนแรง แต่ไม่สามารถบังคับได้จริง ช่วงแรกๆ ก็ประสบความสำเร็จดี แต่พอผ่านไปสักพักหนึ่ง เมื่อคนเลิกสนใจติดตาม ปัญหาก็กลับมาอีก

สาเหตุที่ประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการคอร์รัปชันก็เพราะพวกเขาเติบโตมาในสังคมซึ่งแวดล้อมไปด้วยปัญหาการคอร์รัปชันจนกลายเป็นเรื่องปกติ ผลการสำรวจทัศนคติของคนวัยทำงานในปี 2520 พบว่า คนฮ่องกงกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติไม่ใช่ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ประมาณหนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้ข้าราชการและนักการเมืองเพื่อให้งานของตนลุล่วงไปได้ไม่ใช่เรื่องผิด หากทำแล้วงานของเขาสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ก็จะทำอย่างแน่นอน

กลยุทธ์ของ ICAC แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ “ปราบปราม” และ “เปลี่ยนแปลง” การปราบปรามเป็นกลยุทธ์ระยะสั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาคอร์รัปชันในช่วงนั้นลุกลามใหญ่โตไปกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้การคอร์รัปชันกลับเป็นปัญหารุนแรงอีกในอนาคต

ICAC รู้ดีว่า การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนรุ่นปัจจุบันซึ่งเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้มีการคอร์รัปชันนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ICAC จึงเลือกให้การศึกษาและอบรมเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่พวกเขาเริ่มต้นเรียนหนังสือให้รู้ว่าปัญหาการคอร์รัปชันว่าจะมีผลต่อตัวเขา ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมโดยรวมอย่างไร

วิธีการสอนก็ไม่ได้ให้น้ำหนักกับการบังคับนักเรียนท่องจำข้อเสียแล้วเอาไปตอบข้อสอบตอนปลายภาค กิจกรรมการศึกษาสารพัดรูปแบบได้ถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานานถึง 13 ปีใช้เพื่อเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือหล่อหลอมเยาวชนรุ่นใหม่เกิดความรู้สึกรังเกียจชิงชังต่อการคอร์รัปชัน

งานนี้ต้องใช้ความอดทนและพยายามเป็นอย่างสูงเพราะทีมงานต้องต่อสู้กับครอบครัวของเด็กๆ และสังคมรอบข้างซึ่งมีแต่จะตอกย้ำให้เด็กเห็นว่าการคอร์รัปชันไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร แต่ทีมงานก็ไม่ย่อท้อ เพราะพวกเขารู้ว่าในระยะยาว เด็กรุ่นใหม่พวกนี้แหละที่จะเข้าไปแทนที่คนรุ่นเก่า กลายเป็นตัวอย่างของเยาวชนรุ่นหลังอีกนับไม่ถ้วน เมื่อพวกเขากลายเป็นพ่อแม่คน เขาก็จะอบรมสั่งสอนสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดให้กับลูกหลาน เมื่อเขามีหน้าที่การงาน เขาก็จะเป็นผู้เข้าไปเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร หากเขาไปเล่นการเมือง พวกเขาก็จะมีภูมิต้านทานไม่ตกเป็นเหยื่อของการคอร์รัปชันได้โดยง่ายเหมือนคนรุ่นก่อน

ในปี 2529 ได้มีการสำรวจทัศนคติของคนรุ่นต่างๆ พบว่า เด็กรุ่นใหม่อายุ 15-24 ปี กว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าเห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันคือปัญหารุนแรงของสังคม ในปี 2542 ร้อยละแปดสิบของเด็กในกลุ่มอายุเดียวกันนี้เห็นด้วยกับการกำจัดปัญหาคอร์รัปชันให้หมดไปจากเกาะฮ่องกง

เดี๋ยวนี้ ฮ่องกงกลายเป็นสถานที่ที่คอร์รัปชันแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ความสำเร็จของ ICAC ได้กลายเป็นตัวอย่างให้แก่หน่วยงานต่อต้านการคอร์รัปชันของหลายประเทศ และกลายเป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียนวิชาการปราบปรามคอร์รัปชันทั่วโลก

บทเรียนของฮ่องกง น่าจะเป็นความหวังให้แก่เราได้ว่า หากตั้งใจจริง และช่วยกันทำอย่างต่อเนื่อง โครงการ “โตไปไม่โกง” ของเราก็มีสิทธิสำเร็จได้เหมือนกัน

Monday, August 22, 2011

คอลัมน์ : แนวคิด ดร.แดน


คอลัมน์ : แนวคิด ดร.แดน
หลังจากที่สภาคองเกรสมีมติรับรองการขยายเพดานการก่อหนี้ของรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านล้านเหรียญฯ ทำให้วิกฤตการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลสหรัฐสามารถผ่านพ้นไปได้อย่างฉิวเฉียด และทำให้รัฐบาลมีเงินไปชำระหนี้และใช้จ่ายอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2556 รวมทั้งยังทำให้อันดับความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ของสหรัฐยังคงอยู่ในระดับสูงสุด คือ AAA ต่อไปได้
ถึงกระนั้นการขยายเพดานหนี้ดังกล่าวต้องแลกมาด้วยเงื่อนไขการตัดลดรายจ่ายลง 2.5 ล้านล้านเหรียญฯ ภายใน 10 ปี เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ และสร้างวินัยทางการคลัง ซึ่งหมายความว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในอีก 10 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากรายจ่ายในกิจกรรมของรัฐบาลลดลง และรัฐบาลอาจต้องจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ของภาครัฐ

สหรัฐดูเหมือนยังไม่ฟื้นตัว ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ สะท้อนถึงความอ่อนแอของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐดูเหมือนยังไม่ฟื้นตัว ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ สะท้อนถึงความอ่อนแอของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าที่คาด อัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และการใช้จ่ายของประชาชนที่ชะลอตัว เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรปที่ต่างประสบปัญหาที่คล้ายคลึงกัน
ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกเป็นสำคัญ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐและสหภาพยุโรปสูงถึงประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย เศรษฐกิจของตะวันตกที่ชะลอตัวลงย่อมส่งผลทำให้กำลังซื้อชะลอตัวลง ทำให้การส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ชะลอตัวลงด้วย
ปัญหาหนี้สาธารณะยังส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินตราของประเทศเหล่านี้ลดลง ประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มลดสัดส่วนของเงินสกุลดอลลาร์ฯและยูโรในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลง เช่นเดียวกับนักลงทุนที่หันไปถือสินทรัพย์อื่นแทนสกุลเงินดังกล่าว รวมทั้งย้ายเงินลงทุนเข้ามาในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะในเอเชีย ทำให้เงินสกุลดอลลาร์ฯและยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาทและเงินสกุลท้องถิ่นของเอเชีย การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐและยุโรปจึงมีปัญหามากขึ้น
การหันไปถือสินทรัพย์ของนักลงทุนจะทำให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะทองคำ และตราสารการเงินที่ผูกติดกับราคาน้ำมัน สินแร่ และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งอาจทำให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น เพราะสินทรัพย์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับราคาปัจจัยการผลิตและราคาสินค้า ซึ่งเป็นที่ต้องการของเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ยังมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง

ทางด้านการลงทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามายังเอเชียโดยส่วนใหญ่อาจไม่ใช่การย้ายฐานการผลิตหรือการลงทุนโดยตรง แต่เป็นการลงทุนเพื่อเก็งกำไรหรือแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะสั้น เนื่องจากทางการของประเทศในเอเชียมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อ กระแสการลงทุนดังกล่าวนอกจากจะทำให้ค่าเงินบาทแล้ว อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านค่าเงินเพิ่มสูงขึ้น
การบริหารเศรษฐกิจในสถานการณ์เช่นนี้จึงมีความสำคัญมาก โดยทิศทางนโยบายเศรษฐกิจควรหันมาเน้นการส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ และเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการส่งออกในปีที่ผ่านมาได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป แต่ปัญหาหนี้สาธารณะจะทำให้รัฐบาลสหรัฐและยุโรปมีความจำกัดมากขึ้นในการอัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่และธนาคารแห่งประเทศไทยควรประสานนโยบายการเงินและการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วย

ขณะเดียวกัน สถานการณ์เช่นนี้มีความเหมาะสมสำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับการผลิตให้มีผลิตภาพสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มมากขึ้น และมีนวัตกรรมมากขึ้น (สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่ที่ต้องการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) โดยการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงจากต่างประเทศ การสนับสนุนการนำเข้าเทคโนโลยี เครื่องจักรและบุคลากรระดับสูงจากต่างประเทศ และย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่ประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำ
ไม่เพียงแต่แรงกดดันจากความคาดหวังของประชาชนที่จับจ้องการดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้เท่านั้น รัฐบาลใหม่ยังต้องเผชิญแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงด้วย การจัดการเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบันจึงมีความสำคัญและต้องระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเท่านั้น แต่ควรหวังผลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

Thursday, May 12, 2011

Professor Kriengsak Chareonwongsak ความจากใจ



ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ หมายเลข 2
กับ ความจากใจ Dr.Dan Cando ถึงประชาชน

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นำเสนอทางแก้ และ แก้ได้จริง โดย หลักการสร้างเมืองด้วยปัญญา

Professor Kriengsak ดร.แดน



ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ หมายเลข 2
กับ ความจากใจ ประชาชน ถึง Dr.Dan Cando

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นำเสนอทางแก้ และ แก้ได้จริง โดย หลักการสร้างเมืองด้วยปัญญา

Professor Kriengsak Chareonwongsak Grafiti



การแก้ไขปัญหา ด้วยการการด้วยปัญญา เปลี่ยนสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ เป็น ศิลปะ
นำแสดงทางแก้ และ แก้ได้จริง โดย หลักการสร้างเมืองด้วยปัญญา ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัคร หมายเลข 2

Professor Kriengsak Chareonwongsak การแก้ไขปัญหา ด้วยปัญญา



การแก้ไขปัญหา ด้วยปัญญา
นำแสดงทางแก้ และ แก้ได้จริง โดย หลักการสร้างเมืองด้วยปัญญา ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัคร หมายเลข 2

“ ข้อคิดเพื่อครอบครัว ” อ . เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

“ ข้อคิดเพื่อครอบครัว ” อ . เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
1. ข้อสำคัญของการเลือกคู่ คือเราไม่ได้เลือกใครเพราะเขาสมบูรณ์แบบ แต่เพราะเขามีจุดดีหลักๆ ที่เราประทับใจ ส่วนจุดอ่อนด้อยนั้นเป็นส่วนปลีกย่อยที่เรา สามารถยอมรับได้อย่างไม่ยากเย็น

2. ในความเป็นจริงไม่มีใครดีเลิศสมบูรณ์แบบ ถ้าเรามอง ไม่เห็นจุดอ่อนด้อยของเขาเลย นั่น แสดงว่าเรายังไม่รู้จักเขาอย่างแท้จริงหรือไม่ เราก็กำลังตกอยู่ในความหลงใหล จนไม่ลืมหูลืมตา



3. การแต่งงาน คือ การผูกพันกันด้วยหัวใจ ไม่ใช่เพียงร่างกายและยิ่งไม่ใช่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เชิงธุรกิจ

4. คนที่แต่งงานเพราะความเหงา จะยิ่งเหงาหนักเป็น 2 เท่า แต่งงานแบบคลุมถุงชน ก็มีแนวโน้มว่า ชีวิตจะมืดมนไปอีกนาน

5. ความสุข ความทุกข์ ครึ่งหนึ่งอยู่ที่ชีวิตหลังแต่งงาน คิดให้ดีก่อนที่จะเลือกใคร มาเป็นคู่ชีวิต ...

6. บ้านจะเล็กหรือใหญ่ ไม่สำคัญ แต่ " ความรัก " ต้องให่ญ่ที่สุดในบ้าน

7. คำว่า " รัก " พูดมากไป ย่อมดีกว่า พูดน้อยไป ...

8. เมื่อเรา ทำผิด .... จง " ขอโทษ " เมื่อเขา ทำผิด .... จง " ให้อภัย "

9. ชีวิตแต่งงาน คือ ชีวิตแห่งการปรับตัว ถ้าไม่คิดจะปรับตัวเข้าหาใคร อยู่เป็นโสดไป ก็ดีกว่า ...

10. ยอมเป็นผู้แพ้ ดีกว่า เป็นผู้ชนะที่ยืนอยู่ท่ามกลางซากชีวิตสมรสที่หักพัง ...

11. " แก้ตัว " .... ช่วยอะไรไม่ได้ " แก้ไข " ....... ช่วยได้ทุกอย่าง ...

12. เมื่อมีปัญหาในครอบครัว อย่าลืมใช้ความรักและหลักเหตุผลเป็นกรรมการตัดสิน ไม่ใช้ อารมณ์ หรืออาวุธ ..

13. งอนแต่พองาม ... ก็งามดี แต่งอนเกินพอดี ก็เกินงาม ...

14. ต่างคนต่างแข็ง ไม่มีใครยอมอ่อนข้อต่อกัน ... บ้าน ... ก็ คงไม่ต่างอะไรกับสนามรบ

15. เมื่อสามีอ่อนแอ ไม่รับบทบาทผู้นำ ความสับสนวุ่นวาย ก็ตามมา หรือเมื่อภรรยา พยายามแย่งบทบาทการนำจากสามี ชีวิตครอบครัวก็รอดยาก

16. ความไม่ซื่อสัตย์ ต่อกันเพียงครั้งเดียว ก็อาจสั่นคลอนความไว้วางใจที่มีให้กันได้ ท้ายที่สุด ชีวิตคู่ก็จบลงด้วยความแตกร้าวยากเยียวยา

17. ความเห็นแก่ตัว สนใจแต่ปัญหา อารมณ์ ความรู้สึก และความสนใจของตัวเองชีวิตคู่ ก็อยู่ด้วยกันยาก

18. ก่อหนี้สินจนล้นพ้นตัว ครอบครัวก็มีแต่ความตึงเครียดทุกเช้าเย็น

19. เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือทั้งสองฝ่ายเรียกร้องและคาดหวังจากกันและกันมากเกินพอดี ปัญหาก็จะมีเรื่อยไป … ไม่สิ้นสุด

20. ควรตระหนักว่า ... ภรรยา ไม่ใช่ผู้ปรนนิบัติรับใช้สามี แท้จริงแล้ว สามีภรรยา ควรเอาใจใส่ดูแลกันและกันอย่างดีที่สุด ... ย่อมดีกว่า

21. ไม่มีอะไร ทำให้ภรรยาปวดร้าวใจ มากเท่าการค้นพบว่า สามีมีหญิงอื่นในหัวใจ

22. รักเดียว ... ใจเดียว ไม่ใช่เรื่องเชย แต่เป็นเรื่องดีที่ สามีทุกคนในโลกควรกระทำ

23. การขอโทษภรรยาเมื่อทำผิด ไม่ใช่เรื่องเสียศักดิ์ศรี แต่เป็นศักดิ์ศรีของสามี ... ที่แท้จริง

24. ไม่ควรมองว่า งานดูแลบ้าน เป็นความรับผิดชอบของภรรยา สามีควรมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระอย่างสุดความสามารถเสมอ

25. สรีระรูปร่างหน้าตา ที่เปลี่ยนไปของภรรยา ไม่ควรเป็นเหตุให้ความรักในหัวใจของสามีจืดจางลงแม้แต่น้อย

26. ควรระลึกอยู่เสมอว่า ... การนำครอบครัวนั้น คือ การนำโดยเห็นผลประโยชน์ของครอบครัวเป็นหลักไม่ใช่ เพื่อความสุข ความพึงพอใจของตนเอง

27. ภรรยาที่ดี ควรสนับสนุนสามีให้ก้าวไกลในชีวิต ไม่ใช่ดึงรั้งให้หยุดอยู่กับที่ หรือถอยหลัง

28. ภรรยาที่ดี ไม่ควรใช้วิธีการบีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้สามีตัดสินใจตามความคิดของตน

29. ในสถานการณ์หน้าสิ่ว หน้าขวาน สามีต้องการภรรยาที่สงบนิ่ง ช่วยกันคิดหาทางออก ไม่ใช่ภรรยาที่เอาแต่โวยวาย ตีโพย ตีพายหรือร้องไห้ฟูมฟาย โดยปล่อยให้เขาต้องแบกภาระหนักอึ้งเพียงลำพัง

30. การไม่ตีลูก เพราะกลัวลูกเจ็บ เมื่อยังเป็นเด็ก กลับจะ ทำให้เขาเจ็บปวดยิ่งกว่า เมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างปัญหา และถูกลงโทษ . .. จากสังคม

31. ช่องว่างระหว่างวัย .. ระหว่างรุ่น ... ย่อมไม่มี ถ้าพ่อแม่ตระหนักถึงความสำคัญ และใช้ความพยายามที่มากพอ วิธีที่ดีที่สุด คือ พ่อแม่ควรวางแผนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับลูก ไม่ใช่ตามแก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว

32. พึงตระหนักว่า ลูกไม่ใช่ดินน้ำมัน ที่พ่อแม่ อยากจะปั้นให้เขาเป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบ เขาย่อมมีจิตใจที่มีเอกลักษณ์แห่งความชอบ ความสนใจที่แตกต่างไปจากพ่อแม่ได้เสมอ

การสร้างเมืองด้วยปัญญา ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์



การแก้ไขปัญหา หนู แมลงสาป พาหนะเชื่อโรคร้าย ภัยมืดคุกคามคนกรุง

นำแสดงทางแก้ และ แก้ได้จริง โดย หลักการสร้างเมืองด้วยปัญญา ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศํกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัคร หมายเลข 2

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com

Monday, April 18, 2011

professor kriengsak chareonwongsak news change



แนว concept และ ความคิดของ professor kriengsak chareonwongsak สร้างเมืองด้วยปัญญา เพื่อกรุงเทพที่น่าอยู่ และ ดี