Friday, May 19, 2006

นโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองในต่างประเทศ

นโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองในต่างประเทศ

    จากการศึกษาและเปรียบเทียบนโยบายของพรรคการเมืองในต่างประเทศ พบข้อแตกต่างดังนี้

1.    การกำหนดนโยบายการศึกษาของพรรคการเมืองในต่างประเทศ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มากที่สุด

2.    ครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดในการให้การศึกษา พรรคการเมืองมีแนวทางที่แตกต่างกันในนโยบายครู ตั้งแต่นโยบายเข้มงวด เช่น ให้มีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ มีการประเมินผล จนไปถึงการให้รางวัลจูงใจ ให้ทุนการศึกษา และเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้

3.    เพิ่มบทบาทในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและครอบครัว  ให้เสรีในการเลือกโรงเรียนและเสนอให้ผู้ปกครองออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการศึกษาของลูก

4.    ในประเทศต่าง ๆ ที่มีการจัดการศึกษาแบบให้เปล่าในระดับประถมและมัธยมนั้น ยังได้ย้ำถึงการจัดการศึกษาให้แก่ผู้มีความบกพร่องและด้อยโอกาสในสังคมเอาไว้ด้วย

5.    แม้ว่าในหลายประเทศได้มีการกระจายอำนาจและหน้าที่ในการจัดการศึกษาภาคบังคับ(ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) ไปให้แก่หน่วยงานท้องถิ่นแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลกลางก็ยังมีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวนโยบายในเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา

6.    พรรคการเมืองมีบทบาทในนโยบายระดับอุดมศึกษา โดยการจัดงบประมาณในรูปแบบของเงินทุน เงินอุดหนุนให้แก่สถาบันและผู้เรียน และยังสามารถลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลแลการะองค์กร

7.    ในเรื่องของบริหารจัดการ พรรคการเมืองอาจจะให้การสนับสนุนโดยประกาศหรือกำหนดนโยบายให้สถาบันการศึกษามีเสีภาพในการปกครองตนเองได้

8.    นโยบายการจัดการศึกษาสายวิชาชีพหรืออาชีวศึกษา มีความสำคัญไม่แพ้ระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรมระหว่างการประกอบวิชาชีพ เพื่อยกระดับและมาตรฐานฝีมือแรงงาน พรรคการเมืองจะมีบทบาทในการกำหนดนโยบายแนวทางที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และสามารถกำหนดแนวทางให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการจัดสรรเงินทุนช่วยเหลือ

9.    พรรคการเมืองสามารถกำหนด หรือวางแนวทาง หรือวางโครงการพิเศษต่าง ๆในเรื่องการศึกษา ไม่ว่าเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเพื่อวางแนวทางให้มีการจัดการที่ดีขึ้น

10.    บางครั้งนโยบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจไม่ถูกใจคนทุกคนเสมอไป เพราะมีทั้งผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ และผู้ที่เสียประโยชน์จากนโยบายนั้น ซึ่งพรรคการเมืองจึงต้องมีจุดยึและยืนยันในหลักการ เพื่อการพัฒนามาตรฐานของครูและสถานศึกษาให้สูงขึ้น

No comments: