Friday, October 22, 2010

เจาะลึกค่าแรงขั้นต่ำ

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)ออกมาแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 250 บาทต่อวัน อัตราเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นในการถกเถียงอย่างกว้างขวางในสื่อต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยแรงงานส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากตนเองได้รับประโยชน์ ขณะที่นักวิชาการและนักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า ซึ่งเป็นอาการที่คาดเดาได้แทบจะทุกครั้งที่มีการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับการโยนหินถามทางของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้
มีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจที่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันดังนี้
ควรขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 250 บาทหรือไม่?
ใน ความเห็นส่วนตัว ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน แรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำยังมีภาวะความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก โดยแรงงานไร้ฝีมือในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 6 จังหวัดได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 206 บาทต่อวัน ในขณะที่จังหวัดอื่นได้รับค่าจ้างลดหลั่นกันลงไป ถึงกระนั้น การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีปัจจัยและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณาด้วยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ แรงงานควรได้รับค่าจ้างเท่ากับผลผลิตส่วนเพิ่มที่แรงงานผลิตได้ (หรือผลิตภาพของแรงงาน) หรือหมายความว่า แรงงานควรได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น หากสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น

Professor Kriengsak Chareonwongsak

credit by http://www.oknation.net/blog/kriengsak/2010/10/19/entry-2

2 comments:

Anonymous said...

คิดว่า น่าจะค่อยเป็นค่อยไปน่าจะดีกว่า

notice said...

อืมมมม