• ปัญหาการเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าเพราะมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือที่เรียกกันว่าการออกนอกระบบของไทยนั้น มีมานานถึง ๑๖ ปีแล้ว (แห่งแรกคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) จึงถามว่าใครขัดแย้งกับใคร ในเมื่อการออกนอกระบบ มีกฎหมายรองรับสถานภาพไว้หมด อาจารย์คนไหนอยากเป็นข้าราชการต่อก็ได้ หรือถ้าอยากเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก็จัดระบบพนักงานไว้รองรับให้ และที่ห่วงว่าออกนอกระบบแล้วจะทำให้ค่าเทอมแพงขึ้น ก็ไม่ใช่เรื่องจริง แต่สมมุติขึ้นทั้งสิ้น จึงคิดว่าเราต้องเคารพการตัดสินใจของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง และไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลจะไปฟังให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มหาวิทยาลัยผลักดันกระตุ้นรัฐบาลมากกว่า
• อุปสรรคเกี่ยวกับกฎหมาย โครงสร้าง ระบบการบริหารงานบุคคล และวิชาการของ กระทรวงศึกษาธิการ
ขณะนี้โครงสร้างใหม่ของ กระทรวงศึกษาธิการ มีกฎหมายรองรับสมบูรณ์แล้ว แต่ที่ยังไม่สมบูรณ์ คือ กฎหมายอาชีวศึกษา แต่ที่กำลังจะเสร็จ ก็คือกฎหมายการศึกษาเอกชน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส่วนอาชีวะเอกชนที่ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะอยู่กับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หรือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสายสามัญจะอยู่กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรืออยู่ไหน ดังนั้น จะนัดผู้แทนสถานศึกษาเอกชนมาหารือกันในเดือนมกราคม ๒๕๕๐ นี้ แต่ถ้ายังตกลงไม่ได้ ก็ร่างกฎหมายไม่ได้ เพราะรัฐบาลนี้พูดไว้ชัดว่าจะไม่ปรับโครงสร้างใหม่ แต่จะนำโครงสร้างเดิมมาปรับแต่งแก้ไข
• ระบบการศึกษาที่พอเพียง นโยบายการศึกษาแบบให้เปล่า กับค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้น/สูงขึ้น
ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บคาใช้จ่าย” ซึ่งเป็นการกำหนดอย่างชัดเจนว่าเด้กทุกคนในประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท จะต้องได้รับโอกาสและสิทธิในการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่๑ จนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยรัฐไม่เก็บค่าใช้จ่าย
แต่ในทางปฏิบัติ เกือบทุกโรงเรียนทั้งในเขตเมืองและชนบทยังคงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หลายธรรมเนียม ซึ่งทำให้ผู้ปกครองต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนของบุตรหลานเหือนเดิมหรือจ่ายเพิ่มมากกว่าเดิมทุกปี ผลกระทบที่ตามมาคือ ผู้ปกครองมีหนี้สินเพิ่มขึ้น และเกิดปัญหาตามมาคือ ผู้ปกครองทำงานหนักเพื่อหารายได้เพิ่ม ทำให้ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัว เด็กไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโยบายการศึกษา
นิสิตจุฬาฯ-เปิดสภาวิพากษ์ นโยบายการศึกษา"ในฝัน"
คอลัมน์ นิสิตนักศึกษา
เหลืออีกเพียง 2 วัน ก็จะเป็นวันที่น้องๆ นิสิต นักศึกษาจะได้แสดงพลังตัวเอง เข้าคูหาไปใช้สิทธิ์เลือกผู้แทนในดวงใจให้เข้าไปเป็นตัวแทนในการบริหารประเทศ นอกเหนือจากนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และสวัสดิการต่างๆ ที่แต่ละพรรคพยายามชูความต่างเพื่อดึงคะแนนเสียงหลักแล้ว "นโยบายการศึกษา" เป็นอีกหนึ่งในนโยบายที่แต่ละพรรคยกกันขึ้นมาต่อสู้กันอย่างสุดลิ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรียนฟรี 12 ปี, เรียนฟรีถึงปริญญาตรี, ขยายโอกาสทางการศึกษา, พัฒนาด้านไอที คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตในโรงเรียน ฯลฯ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเสมือนจุดขายของแต่ละพรรคการเมือง แต่นโยบายเหล่านี้จะได้รับการตอบรับ และตรงใจนิสิต นักศึกษา หรือไม่คงต้องรอวันหย่อนบัตรลงคะแนนวันอาทิตย์ที่ 6 ก.พ.
ในการเสวนาเรื่อง "นิสิตกับนโยบายการศึกษาของประเทศ" ที่จัดขึ้นโดยสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นอีกเวทีหนึ่ง นอกเหนือจากจะให้แต่ละพรรคการเมืองได้มาแถลงนโยบายของตัวเองแล้ว ยังเปิดโอกาสให้กับนิสิตได้แถลงถึง "นโยบายการศึกษา" ในดวงใจอย่างที่พวกเขาต้องการด้วย
เริ่มด้วยนิสิตน้องใหม่ปี 1 "สิงห์ดำ" ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่พยายามชี้ให้เห็นว่า เห็นความสำคัญของการศึกษา แต่ตนก็ยังเห็นว่าแต่ละนโยบายยังเป็นนามธรรมและกว้างมาก
ในภาพรวมยังขาดกระบวนการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม พูดแค่ให้ดูว่าสวยหรู แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ อีกทั้งเมื่อขึ้นเวทีแถลงนโยบาย เมื่อถึงเวลาที่นิสิตถามก็พยายามเลี่ยงคำตอบ วกไปวนมา "งานการศึกษาบอบช้ำมามากแล้ว ตั้งแต่ที่ได้มีการปฏิรูปการศึกษา เมื่อปี 2542 จนผ่านมาถึงปัจจุบันยังจับต้นชนปลายไม่ถูก อย่าง Child Center นั่น ยังมั่วมาก”
ดังนั้นสิ่งเหล่านี้รัฐบาลชุดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใด ต้องมีความชัดเจนว่า ต้องการให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นไปในทิศทางใด และจะทำอะไรต่อไปในอนาคตเพื่อให้บรรจุเป้าหมาย "พร้อมกันนั้นจะต้องประเมินสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วว่าดีหรือไม่ มีปัญหาอย่างไร ต้องแก้ไขตรงไหน อย่ากลัวไม่แก้ไข เพราะกลัวว่าคนอื่นจะว่า ว่าทำผิดมาในอดีต"
ทศพลเชื่อว่า หากรัฐบาลต้องการพัฒนาการศึกษาอย่างแท้จริงแล้ว นายกรัฐมนตรี จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนและที่สำคัญ "รมว.ศึกษาธิการ" คนใหม่ จะต้องเป็นรัฐมนตรี "เกรดเอ" เข้าใจเรื่องการศึกษาอย่างถ่องแท้ อย่ามองการศึกษาเป็นเกมธุรกิจ
ด้านซีเนียร์ชั้นปี 4 คณะวิทยาศาสตร์ น.ส.สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ เห็นว่า นโยบายการศึกษา ที่แม้ว่าแต่ละพรรคพยายามชูขึ้นมาเป็นจุดขาย แต่ดูแล้วยังเป็นการ "ขายฝัน" มากกว่าที่จะปฏิบัติได้ เช่น เรียนฟรี จะทำอย่างไรให้เด็กที่ยากจนและขาดโอกาสจริงๆ ได้เรียนทุกคน และเรียนจบมาแล้วจะมีตลาดงานรองรับเขาหรือไม่
ดังนั้น จึงอยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ว่า ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ควรนำจุดเด่นของแต่ละพรรคมาบูรณาการออกมาเป็นภาพรวมใหม่ นำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง พร้อมกันนั้นจะต้องให้มีการประเมินผลนโยบายทุกๆ ด้านเป็นประจำทุกปี เพื่อทำให้ประชาชนได้รับรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานของพรรคที่เขาเลือกเข้าไปบริหารประเทศ
ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการพัฒนาการศึกษา คือ ผู้กุมบังเหียนการศึกษา เป็นตำแหน่งที่เหลือจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำคัญๆ สิ่งนี้เองจึงเป็นเหมือนจุดด้อยที่ทำให้นโยบายการศึกษา แม้ว่าจะเด่น แต่ปฏิบัติไม่ชัด ดังนั้นอยากให้คนที่จะมาเป็นรมว.ศึกษาธิการ เป็นผู้ที่มีความสามารถ และรู้จริงด้านการศึกษา เพราะที่ผ่านมาเด็กเองก็ดูออกว่ามีความสามารถหรือไม่ แต่ทำอะไรไม่ได้
ด้านประธานสภานิสิตจุฬาฯ สรัล ศาลากิจ ชั้นปี 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ว่า อยากให้รัฐบาลเน้นการศึกษา เป็นประเด็นสำคัญอันดับหนึ่ง ในการพัฒนาประเทศ เพราะการพัฒนาด้านศึกษาเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่าด้านเศรษฐกิจ หรือสังคมต่างๆ เพราะหากการศึกษาดี ก็จะทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ง่าย แม้จะเป็นการทำงานที่เห็นผลยาก แต่เชื่อว่าหากรัฐบาลทำสำเร็จจะทำให้ประชาชนประทับใจมาก
"แม้ว่าขณะนี้แต่ละพรรคจะบอกว่า ต้องการเข้ามาพัฒนาด้านการศึกษา แต่ยังมองภาพไม่ชัดว่าต้องการพัฒนาให้การศึกษาไทยเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งปัจจุบันการศึกษาไทย ยังมีปัญหาในระดับสูง” หลายคนถูกปลูกฝังว่า เรียนจบแล้วต้องไปเรียนต่อเมืองนอก ถึงจะมีความเจริญก้าวหน้าในการงาน ซึ่งจุดนี้รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาทำให้ค่านิยมเหล่านี้หายไป
"จะพัฒนาการศึกษาไทยอย่างไร ให้คนต่างประเทศสนใจ และอยากเข้ามาเรียนต่อในประเทศไทยแทน"
สำหรับ รมว.ศึกษาธิการคนใหม่ นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานการศึกษาแล้ว ยังต้องรับฟังความคิดเห็นจากเด็ก เพื่อให้รู้ว่าเด็กคิดอย่างไร และต้องการอะไร เพราะรัฐบาลต้องการให้อนาคตของประเทศเป็นอย่างไรก็ต้องสอนให้เด็กเป็นอย่างนั้น คงต้องคอยจับตาดูว่า เสียงสะท้อนนิสิตเหล่านี้ จะทำให้ผู้นำรัฐบาลชุดใหม่ คัดเลือก "ผู้นำการศึกษา" ที่สนองงานพัฒนาการศึกษา สานต่อนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรม
หรือเพียงแค่สนองอำนาจทางการเมืองเท่านั้น
(แหล่งที่มา ข่าวสด ฉบับที่ 5181 [หน้าที่ 32 ] ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548)
ความรู้ ความคิด ไมตรีจิต ความดี ของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
Thursday, June 29, 2006
Friday, June 9, 2006
ปัญหานโยบายการศึกษา
สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักก็คือ การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศทุกด้าน แต่รัฐบาลแทบทุกยุคสมัยกลับไปมุ่งเน้น เฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก บางรัฐบาลจัดให้การศึกษาอยู่ในลำดับความสนใจกลุ่มท้าย ๆ และแม้ปัจจุบันจะอยู่ในช่วงปฏิรูปทางการศึกษา มีการลงทุนก้อนโต แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าจะนำไปสู่การพัฒนาแท้จริงหรือไม่ ดังปรากฏข้อเท็จจริงว่าเรามีงบประมาณด้านการศึกษาถึงสามแสนล้านบาท แต่เมื่อประเมินผลการศึกษาก็พบว่าไม่ได้เน้นการพัฒนาในเชิงคุณภาพ เห็นจาก การสอบวัดผลของนักเรียนระดับมัธยมปลายคราวที่ผ่านมา ส่วนใหญ่คะแนนออกมาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้น
แนวคิดเกี่ยวกับปัญหานโยบายการศึกษาแห่งชาติ
ขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหานโยบาย ในยุคที่รัฐบาลหาเสียงโดยยึดหลักประชานิยม ดังนี้
1. นโยบายด้านการศึกษา ต้องเกิดจากความจริงใจในการพัฒนา เพราะต้องใช้เวลานานเกินสมัยที่รัฐบาลครองอำนาจ โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่เน้นประชานิยม จะไม่สนใจนโยบายการศึกษา
2. นโยบายที่ผู้นำรัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา ดูดีทั้งนั้น แต่ปัญหาจริงๆ อยู่ที่การนำนโยบายไปปฏิบัติ(Implementation) ว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจ ต่อนโยบายที่ตนแถลงเพียงใด
3. นโยบายด้านการศึกษาที่ผ่านมา สวนทางโดยสิ้นเชิงกัยวิธีปฏิบัติ ทีให้มีการประเมิน โดยทั้ง สมศ. และ กพร. 2 องค์กรนี้มีพันธกิจหลักในการ "พัฒนา" ระบบการศึกษา และระบบราชการ แต่ศึกษาดูดีๆ จะพบว่า 2 หน่วยนี่แหละทำให้การพัฒนาทั้งการศึกษา และระบบราชการต้องล่าช้า ด้วยรายละเอียดการประเมิน ตัวชี้วัดต่างๆ ที่ค่อนข้างไร้สาระ แต่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานจริงเสียเวลามากมาย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(มีนาคม 2544) ได้เสนอปัญหาอุปสรรคในการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา ดังนี้
1) การเสียสิทธิของประชาชนในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ลงถึงการปฏิบัติ
3) วิกฤติศรัทธาต่อครู
4) มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
5) การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6) วิทยาศาสตร์การศึกษา
7) การปฏิรูปการอาชีวศึกษา
8) การปฏิรูปอุดมศึกษา
9) วิกฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม
ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวมีสาเหตุแห่งปัญหาร่วมกันคือ
1) การขาดการประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
2) ความล่าช้าของกระบวนการพิจารณากฎหมาย กฎกระทรวง และกฎหมายอื่น
3) การขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
4) ช่องว่างระหว่างหน่วยงานนโยบายและหน่วยงานปฏิบัติ
แนวคิดเกี่ยวกับปัญหานโยบายการศึกษาแห่งชาติ
ขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหานโยบาย ในยุคที่รัฐบาลหาเสียงโดยยึดหลักประชานิยม ดังนี้
1. นโยบายด้านการศึกษา ต้องเกิดจากความจริงใจในการพัฒนา เพราะต้องใช้เวลานานเกินสมัยที่รัฐบาลครองอำนาจ โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่เน้นประชานิยม จะไม่สนใจนโยบายการศึกษา
2. นโยบายที่ผู้นำรัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา ดูดีทั้งนั้น แต่ปัญหาจริงๆ อยู่ที่การนำนโยบายไปปฏิบัติ(Implementation) ว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจ ต่อนโยบายที่ตนแถลงเพียงใด
3. นโยบายด้านการศึกษาที่ผ่านมา สวนทางโดยสิ้นเชิงกัยวิธีปฏิบัติ ทีให้มีการประเมิน โดยทั้ง สมศ. และ กพร. 2 องค์กรนี้มีพันธกิจหลักในการ "พัฒนา" ระบบการศึกษา และระบบราชการ แต่ศึกษาดูดีๆ จะพบว่า 2 หน่วยนี่แหละทำให้การพัฒนาทั้งการศึกษา และระบบราชการต้องล่าช้า ด้วยรายละเอียดการประเมิน ตัวชี้วัดต่างๆ ที่ค่อนข้างไร้สาระ แต่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานจริงเสียเวลามากมาย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(มีนาคม 2544) ได้เสนอปัญหาอุปสรรคในการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา ดังนี้
1) การเสียสิทธิของประชาชนในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ลงถึงการปฏิบัติ
3) วิกฤติศรัทธาต่อครู
4) มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
5) การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6) วิทยาศาสตร์การศึกษา
7) การปฏิรูปการอาชีวศึกษา
8) การปฏิรูปอุดมศึกษา
9) วิกฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม
ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวมีสาเหตุแห่งปัญหาร่วมกันคือ
1) การขาดการประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
2) ความล่าช้าของกระบวนการพิจารณากฎหมาย กฎกระทรวง และกฎหมายอื่น
3) การขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
4) ช่องว่างระหว่างหน่วยงานนโยบายและหน่วยงานปฏิบัติ
Subscribe to:
Posts (Atom)