ฉลาดใช้เวลาด้วยการ “จัดลำดับความสำคัญ”
ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
การวางแผนการทำงานโดยนำงานหลากชิ้นที่ตนได้รับมอบหมายมา “จัดลำดับความสำคัญ” (prioritization) ก่อนลงมือ…ลุยทำจนบรรลุผล เป็นดัชนีหนึ่งที่สะท้อนความฉลาดในการใช้เวลา เพราะโดยพื้นฐานแล้ว ทุกคนต่างมีไม่มากน้อยกว่ากัน คือ 24 ชั่วโมงต่อวัน
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ…
การนำงานมาจัดลำดับความสำคัญก่อนทำ จะส่งผลให้การทำงานทุกชิ้นในช่วงเวลานั้นมีโอกาส “สร้างความพึงพอใจ” แก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น
มีโอกาส… “เสร็จครบ” ตามที่ได้รับมอบหมาย
มีโอกาส… “เสร็จได้มาตรฐาน” สร้างชื่อเสียงให้องค์กร
มีโอกาส… “เสร็จได้คุณภาพ” ตรงความต้องการของลูกค้า
ฯลฯ
การนำงานมาจัดลำดับความสำคัญก่อนทำ จะส่งผลให้การทำงานทุกชิ้นในช่วงเวลานั้นมีโอกาส “สร้างความพึงพอใจ” แก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น
มีโอกาส… “เสร็จครบ” ตามที่ได้รับมอบหมาย
มีโอกาส… “เสร็จได้มาตรฐาน” สร้างชื่อเสียงให้องค์กร
มีโอกาส… “เสร็จได้คุณภาพ” ตรงความต้องการของลูกค้า
ฯลฯ
อันมีส่วนต่อการสร้างผลการทำงานที่แตกต่าง หรือสะท้อน “สมรรถนะ” (competency) ในการทำงานที่สูงต่ำไม่เท่าเทียมกันระหว่างพนักงาน และมีส่วนส่งผลต่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ขึ้นเงินเดือนหรือค่าตอบแทน โบนัส สวัสดิการ ฯลฯ ที่ไม่เท่ากันในแต่ละคนในแต่ละช่วงปี
แต่ถึงกระนั้น…กลับไม่ใช่ทุกคนที่เลือกทำงาน โดยตระหนักว่าต้องมีการจัดเรียงลำดับความสำคัญ…มาก-กลาง-น้อย หรือการให้น้ำหนักงานแต่ละชิ้นว่าชิ้นใดควรทำก่อนทำหลัง
คนจำนวนไม่น้อยกลับมีพฤติกรรมการทำงาน ด้วยเหตุผลดังนี้แทน…
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนรู้สึกว่าง่าย” ก่อน
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนพึงพอใจ” ก่อน
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนถนัด” ก่อน
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนคุ้นเคย” ก่อน
ฯลฯ
คนจำนวนไม่น้อยกลับมีพฤติกรรมการทำงาน ด้วยเหตุผลดังนี้แทน…
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนรู้สึกว่าง่าย” ก่อน
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนพึงพอใจ” ก่อน
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนถนัด” ก่อน
เลือกทำงาน… ชิ้นที่ “ตนคุ้นเคย” ก่อน
ฯลฯ
No comments:
Post a Comment