ปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นได้ซ้ำ ๆ จากการทำงานในลักษณะดังกล่าว จึงมักให้ผลในทิศตรงข้ามกับการทำงานที่
ผ่านการยอมจัดสรรเวลาส่วนหนึ่ง เพื่อใช้วางแผนการทำงานในเวลาที่มีอยู่อย่างรอบคอบรัดกุม คือ
ทำงานเสร็จเพียงบางชิ้น แต่หลายชิ้น “ไม่ได้ทำ หรือ ทำไม่เสร็จ”
ทำงานได้มาตรฐานเพียงบางชิ้น แต่หลายชิ้น “ตกจากมาตรฐาน” สร้างชื่อเสียให้องค์กร
ทำงานได้คุณภาพเพียงบางชิ้น แต่หลายชิ้น “มีข้อผิดพลาด ช่องโหว่ ตกหล่น” ลูกค้าไม่ประทับใจ อาจบอกเลิกสัญญา หรือออเดอร์สั่งซื้อสินค้า
ฯลฯ
ผ่านการยอมจัดสรรเวลาส่วนหนึ่ง เพื่อใช้วางแผนการทำงานในเวลาที่มีอยู่อย่างรอบคอบรัดกุม คือ
ทำงานเสร็จเพียงบางชิ้น แต่หลายชิ้น “ไม่ได้ทำ หรือ ทำไม่เสร็จ”
ทำงานได้มาตรฐานเพียงบางชิ้น แต่หลายชิ้น “ตกจากมาตรฐาน” สร้างชื่อเสียให้องค์กร
ทำงานได้คุณภาพเพียงบางชิ้น แต่หลายชิ้น “มีข้อผิดพลาด ช่องโหว่ ตกหล่น” ลูกค้าไม่ประทับใจ อาจบอกเลิกสัญญา หรือออเดอร์สั่งซื้อสินค้า
ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าหลายครั้งคนทำงานอาจไม่เคยวิเคราะห์ประเมิน หรือล่วงรู้มาก่อนว่า “การไม่จัดลำดับความสำคัญ” ก่อนลงมือทำงาน เป็นสาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในผลงานหลายชิ้นที่ตนรับผิดชอบ หรือทราบถึงผลดีของการวางแผนทำงานโดยจัดเรียงความสำคัญก่อนหลัง ให้น้ำหนักงานแต่ละชิ้นก่อนทำ แต่ไม่ทราบว่าตนควรจัดลำดับงานดังกล่าวอย่างไร