เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)ออกมาแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 250 บาทต่อวัน อัตราเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นในการถกเถียงอย่างกว้างขวางในสื่อต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยแรงงานส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากตนเองได้รับประโยชน์ ขณะที่นักวิชาการและนักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า ซึ่งเป็นอาการที่คาดเดาได้แทบจะทุกครั้งที่มีการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับการโยนหินถามทางของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้
มีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจที่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันดังนี้
ควรขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 250 บาทหรือไม่?
ใน ความเห็นส่วนตัว ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน แรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำยังมีภาวะความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก โดยแรงงานไร้ฝีมือในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 6 จังหวัดได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 206 บาทต่อวัน ในขณะที่จังหวัดอื่นได้รับค่าจ้างลดหลั่นกันลงไป ถึงกระนั้น การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีปัจจัยและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณาด้วยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ แรงงานควรได้รับค่าจ้างเท่ากับผลผลิตส่วนเพิ่มที่แรงงานผลิตได้ (หรือผลิตภาพของแรงงาน) หรือหมายความว่า แรงงานควรได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น หากสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น
Professor Kriengsak Chareonwongsak
credit by http://www.oknation.net/blog/kriengsak/2010/10/19/entry-2
ความรู้ ความคิด ไมตรีจิต ความดี ของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
Friday, October 22, 2010
Thursday, October 21, 2010
professor kriengsak chareonwongsak
งบประมาณปี 2549 กับสามลักษณะเด่น
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานกรรมาธิการ การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหาร และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 กำหนดวงเงิน 1.36 ล้านล้านบาท และเป็นนโยบายงบประมาณ แบบสมดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2548
แต่กระนั้นการจัดสรรงบประมาณปี 49 เป็นงบเสี่ยง ซึ่งอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนี้
1.งบนักฝัน เนื่องจากการที่รัฐบาลมีความเสี่ยงจะจัดเก็บรายได้ไม่ถึงเป้าตามที่ฝัน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 จะขยายตัวไม่ถึง 4.5-5.5% ตามในเอกสารงบประมาณโดยสังเขป แต่จากการวิเคราะห์พบว่า เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวเพียง 4% เนื่องจากสมมติฐานในการจัดทำงบประมาณปี 2549 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
สมมติฐานแรก ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยตลอดปี 2548 อยู่ที่ 44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งไม่ตรงกับความจริง เพราะราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย 5 เดือนแรกอยู่ที่ 43.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 50-55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว ในขณะที่ครึ่งปีหลังความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันในช่วงปลายปีจะสูงสุดในรอบปี ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีจึงน่าจะสูงกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สมมติฐานที่สอง การส่งออกขยายตัว 18% เป็นไปได้ยาก เพราะ 4 เดือนแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเบื้องต้นขยายตัวเพียง 10.9% หากจะผลักดันการส่งออกตลอดปีนี้ให้ขยายตัว 18% การส่งออกในอีก 8 เดือนที่เหลือจะต้องเพิ่มขึ้นถึง 27.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สมมติฐานที่สาม นักท่องเที่ยวปี 2548 จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.57 ล้านคน นับว่าเป็นไปได้ยาก เพราะนักท่องเที่ยวเข้าไทยใน 2 ไตรมาสแรก คาดว่ามีเพียง 5.29 ล้านคน
สองไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 จะต้องมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 18.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในครึ่งหลังของปี 2547 และ 2546 ที่ขยายตัวเพียง 7.5% และ 4.2% ตามลำดับ
สมมติฐานสุดท้าย การเร่งเบิกจ่ายงบเพิ่มเติมปี 2548 และงบปี 2546-2547 ที่ยังค้างอยู่ไม่น้อยกว่า 80% เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะงบส่วนใหญ่เป็นงบลงทุน และการเบิกจ่ายงบลงทุนในปีงบประมาณ 2548 ณ ปัจจุบัน มีการเบิกจ่ายเพียง 48.9% เท่านั้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาแล้วเก้าเดือน
ประการที่สอง สัดส่วนรายรับรัฐบาลต่อ GDP จะลดลงจาก 17.3% เหลือเพียง 17% เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของปี 2549 จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2548 โดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากธุรกิจและประชาชนในปี 2549 จะคิดจากผลกำไรของธุรกิจและรายได้ของประชาชนในปี 2548
ดังนั้นหากเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 4% และปีหน้าขยายตัว 6% สัดส่วนการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2549 อยู่ที่ 17% ต่อจีดีพี การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าเป้าหมาย 1.36 ล้านล้านบาท ถึง 9.29 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายความว่าประชาชนจะต้องแบกรับภาระการเรียกเก็บภาษีมากขึ้น
2.งบนักซ่อน การจัดทำงบประมาณปี 2549 ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่รัฐบาลมีความต้องการใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และต้องการจัดงบประมาณแบบสมดุล นำพาความเสี่ยงในการก่อหนี้สาธารณะ และภาระผูกพันมากขึ้น เพราะรัฐบาลพัฒนาวิธีการซ่อนหนี้ และภาระผูกพันมากขึ้น
การให้ธนาคารรัฐปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อโยกหนี้รัฐวิสาหกิจออกจากบัญชีหนี้สาธารณะ การจัดตั้ง SPV เพื่อกู้เงินจากเอกชน โดยไม่ปรากฏเป็นหนี้สาธารณะ รวมทั้งการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้มค่า ทำให้รัฐต้องอุดหนุนในระยะยาว ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีการเหล่านี้จะเป็นภาระต่องบประมาณในอนาคตรวมกันอย่างน้อย 546,944 ล้านบาท และอาจกลายเป็นหนี้สาธารณะจำนวนมากในอนาคต หากเศรษฐกิจถดถอย
3.งบ Turn Key ในเอกสารงบประมาณระบุถึง งบประมาณของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 9.46 หมื่นล้านบาท โดยหลายโครงการจะเริ่มต้นก่อสร้างในปีงบประมาณ 2549
การที่รัฐบาลต้องการเร่งผลักดังโครงการโดยที่ยังไม่มีแผนระดมทุนชัดเจน โดยที่ยังไม่มีการศึกษาและออกแบบโครงการ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะนำการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการเหมาแบบเบ็ดเสร็จ หรือ Turn Key มาใช้ เพราะวิธีนี้มีข้อดี คือ การก่อสร้างได้เร็ว เพราะใช้วิธีออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง และผู้รับเหมาจะเป็นผู้รับผิดชอบในการระดมทุนเอง
แต่ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ การออกแบบไปพร้อมๆ กับการก่อสร้าง จะทำให้การควบคุมและตรวจสอบงานทำได้ยาก และจะมีผู้รับเหมาน้อยรายที่จะมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดให้มีสิทธิเข้าแข่งขันในการประกวดราคา และอาจเกิดการรวบรัดขั้นตอนดำเนินงาน
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานกรรมาธิการ การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหาร และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 กำหนดวงเงิน 1.36 ล้านล้านบาท และเป็นนโยบายงบประมาณ แบบสมดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2548
แต่กระนั้นการจัดสรรงบประมาณปี 49 เป็นงบเสี่ยง ซึ่งอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนี้
1.งบนักฝัน เนื่องจากการที่รัฐบาลมีความเสี่ยงจะจัดเก็บรายได้ไม่ถึงเป้าตามที่ฝัน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 จะขยายตัวไม่ถึง 4.5-5.5% ตามในเอกสารงบประมาณโดยสังเขป แต่จากการวิเคราะห์พบว่า เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวเพียง 4% เนื่องจากสมมติฐานในการจัดทำงบประมาณปี 2549 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
สมมติฐานแรก ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยตลอดปี 2548 อยู่ที่ 44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งไม่ตรงกับความจริง เพราะราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย 5 เดือนแรกอยู่ที่ 43.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 50-55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว ในขณะที่ครึ่งปีหลังความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันในช่วงปลายปีจะสูงสุดในรอบปี ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีจึงน่าจะสูงกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สมมติฐานที่สอง การส่งออกขยายตัว 18% เป็นไปได้ยาก เพราะ 4 เดือนแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเบื้องต้นขยายตัวเพียง 10.9% หากจะผลักดันการส่งออกตลอดปีนี้ให้ขยายตัว 18% การส่งออกในอีก 8 เดือนที่เหลือจะต้องเพิ่มขึ้นถึง 27.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สมมติฐานที่สาม นักท่องเที่ยวปี 2548 จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.57 ล้านคน นับว่าเป็นไปได้ยาก เพราะนักท่องเที่ยวเข้าไทยใน 2 ไตรมาสแรก คาดว่ามีเพียง 5.29 ล้านคน
สองไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 จะต้องมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 18.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในครึ่งหลังของปี 2547 และ 2546 ที่ขยายตัวเพียง 7.5% และ 4.2% ตามลำดับ
สมมติฐานสุดท้าย การเร่งเบิกจ่ายงบเพิ่มเติมปี 2548 และงบปี 2546-2547 ที่ยังค้างอยู่ไม่น้อยกว่า 80% เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะงบส่วนใหญ่เป็นงบลงทุน และการเบิกจ่ายงบลงทุนในปีงบประมาณ 2548 ณ ปัจจุบัน มีการเบิกจ่ายเพียง 48.9% เท่านั้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาแล้วเก้าเดือน
ประการที่สอง สัดส่วนรายรับรัฐบาลต่อ GDP จะลดลงจาก 17.3% เหลือเพียง 17% เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของปี 2549 จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2548 โดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากธุรกิจและประชาชนในปี 2549 จะคิดจากผลกำไรของธุรกิจและรายได้ของประชาชนในปี 2548
ดังนั้นหากเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 4% และปีหน้าขยายตัว 6% สัดส่วนการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2549 อยู่ที่ 17% ต่อจีดีพี การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าเป้าหมาย 1.36 ล้านล้านบาท ถึง 9.29 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายความว่าประชาชนจะต้องแบกรับภาระการเรียกเก็บภาษีมากขึ้น
2.งบนักซ่อน การจัดทำงบประมาณปี 2549 ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่รัฐบาลมีความต้องการใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และต้องการจัดงบประมาณแบบสมดุล นำพาความเสี่ยงในการก่อหนี้สาธารณะ และภาระผูกพันมากขึ้น เพราะรัฐบาลพัฒนาวิธีการซ่อนหนี้ และภาระผูกพันมากขึ้น
การให้ธนาคารรัฐปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อโยกหนี้รัฐวิสาหกิจออกจากบัญชีหนี้สาธารณะ การจัดตั้ง SPV เพื่อกู้เงินจากเอกชน โดยไม่ปรากฏเป็นหนี้สาธารณะ รวมทั้งการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้มค่า ทำให้รัฐต้องอุดหนุนในระยะยาว ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีการเหล่านี้จะเป็นภาระต่องบประมาณในอนาคตรวมกันอย่างน้อย 546,944 ล้านบาท และอาจกลายเป็นหนี้สาธารณะจำนวนมากในอนาคต หากเศรษฐกิจถดถอย
3.งบ Turn Key ในเอกสารงบประมาณระบุถึง งบประมาณของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 9.46 หมื่นล้านบาท โดยหลายโครงการจะเริ่มต้นก่อสร้างในปีงบประมาณ 2549
การที่รัฐบาลต้องการเร่งผลักดังโครงการโดยที่ยังไม่มีแผนระดมทุนชัดเจน โดยที่ยังไม่มีการศึกษาและออกแบบโครงการ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะนำการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการเหมาแบบเบ็ดเสร็จ หรือ Turn Key มาใช้ เพราะวิธีนี้มีข้อดี คือ การก่อสร้างได้เร็ว เพราะใช้วิธีออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง และผู้รับเหมาจะเป็นผู้รับผิดชอบในการระดมทุนเอง
แต่ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ การออกแบบไปพร้อมๆ กับการก่อสร้าง จะทำให้การควบคุมและตรวจสอบงานทำได้ยาก และจะมีผู้รับเหมาน้อยรายที่จะมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดให้มีสิทธิเข้าแข่งขันในการประกวดราคา และอาจเกิดการรวบรัดขั้นตอนดำเนินงาน
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com
Subscribe to:
Posts (Atom)