Friday, October 22, 2010

เจาะลึกค่าแรงขั้นต่ำ

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)ออกมาแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 250 บาทต่อวัน อัตราเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นในการถกเถียงอย่างกว้างขวางในสื่อต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยแรงงานส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากตนเองได้รับประโยชน์ ขณะที่นักวิชาการและนักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า ซึ่งเป็นอาการที่คาดเดาได้แทบจะทุกครั้งที่มีการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ สำหรับการโยนหินถามทางของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้
มีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจที่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันดังนี้
ควรขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 250 บาทหรือไม่?
ใน ความเห็นส่วนตัว ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน แรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำยังมีภาวะความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก โดยแรงงานไร้ฝีมือในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 6 จังหวัดได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 206 บาทต่อวัน ในขณะที่จังหวัดอื่นได้รับค่าจ้างลดหลั่นกันลงไป ถึงกระนั้น การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมีปัจจัยและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิจารณาด้วยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือ แรงงานควรได้รับค่าจ้างเท่ากับผลผลิตส่วนเพิ่มที่แรงงานผลิตได้ (หรือผลิตภาพของแรงงาน) หรือหมายความว่า แรงงานควรได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น หากสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น

Professor Kriengsak Chareonwongsak

credit by http://www.oknation.net/blog/kriengsak/2010/10/19/entry-2

Thursday, October 21, 2010

professor kriengsak chareonwongsak

งบประมาณปี 2549 กับสามลักษณะเด่น

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  รองประธานกรรมาธิการ การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหาร และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 กำหนดวงเงิน 1.36 ล้านล้านบาท และเป็นนโยบายงบประมาณ แบบสมดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2548

แต่กระนั้นการจัดสรรงบประมาณปี 49 เป็นงบเสี่ยง ซึ่งอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนี้

1.งบนักฝัน เนื่องจากการที่รัฐบาลมีความเสี่ยงจะจัดเก็บรายได้ไม่ถึงเป้าตามที่ฝัน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 จะขยายตัวไม่ถึง 4.5-5.5% ตามในเอกสารงบประมาณโดยสังเขป แต่จากการวิเคราะห์พบว่า เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวเพียง 4% เนื่องจากสมมติฐานในการจัดทำงบประมาณปี 2549 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

สมมติฐานแรก ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยตลอดปี 2548 อยู่ที่ 44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งไม่ตรงกับความจริง เพราะราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย 5 เดือนแรกอยู่ที่ 43.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 50-55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว ในขณะที่ครึ่งปีหลังความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันในช่วงปลายปีจะสูงสุดในรอบปี ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีจึงน่าจะสูงกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สมมติฐานที่สอง การส่งออกขยายตัว 18% เป็นไปได้ยาก เพราะ 4 เดือนแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเบื้องต้นขยายตัวเพียง 10.9% หากจะผลักดันการส่งออกตลอดปีนี้ให้ขยายตัว 18% การส่งออกในอีก 8 เดือนที่เหลือจะต้องเพิ่มขึ้นถึง 27.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สมมติฐานที่สาม นักท่องเที่ยวปี 2548 จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.57 ล้านคน นับว่าเป็นไปได้ยาก เพราะนักท่องเที่ยวเข้าไทยใน 2 ไตรมาสแรก คาดว่ามีเพียง 5.29 ล้านคน

สองไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 จะต้องมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 18.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในครึ่งหลังของปี 2547 และ 2546 ที่ขยายตัวเพียง 7.5% และ 4.2% ตามลำดับ

สมมติฐานสุดท้าย การเร่งเบิกจ่ายงบเพิ่มเติมปี 2548 และงบปี 2546-2547 ที่ยังค้างอยู่ไม่น้อยกว่า 80% เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะงบส่วนใหญ่เป็นงบลงทุน และการเบิกจ่ายงบลงทุนในปีงบประมาณ 2548 ณ ปัจจุบัน มีการเบิกจ่ายเพียง 48.9% เท่านั้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาแล้วเก้าเดือน

ประการที่สอง สัดส่วนรายรับรัฐบาลต่อ GDP จะลดลงจาก 17.3% เหลือเพียง 17% เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของปี 2549 จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2548 โดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากธุรกิจและประชาชนในปี 2549 จะคิดจากผลกำไรของธุรกิจและรายได้ของประชาชนในปี 2548

ดังนั้นหากเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 4% และปีหน้าขยายตัว 6% สัดส่วนการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2549 อยู่ที่ 17% ต่อจีดีพี การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าเป้าหมาย 1.36 ล้านล้านบาท ถึง 9.29 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายความว่าประชาชนจะต้องแบกรับภาระการเรียกเก็บภาษีมากขึ้น

2.งบนักซ่อน การจัดทำงบประมาณปี 2549 ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่รัฐบาลมีความต้องการใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และต้องการจัดงบประมาณแบบสมดุล นำพาความเสี่ยงในการก่อหนี้สาธารณะ และภาระผูกพันมากขึ้น เพราะรัฐบาลพัฒนาวิธีการซ่อนหนี้ และภาระผูกพันมากขึ้น

การให้ธนาคารรัฐปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อโยกหนี้รัฐวิสาหกิจออกจากบัญชีหนี้สาธารณะ การจัดตั้ง SPV เพื่อกู้เงินจากเอกชน โดยไม่ปรากฏเป็นหนี้สาธารณะ รวมทั้งการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้มค่า ทำให้รัฐต้องอุดหนุนในระยะยาว ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีการเหล่านี้จะเป็นภาระต่องบประมาณในอนาคตรวมกันอย่างน้อย 546,944 ล้านบาท และอาจกลายเป็นหนี้สาธารณะจำนวนมากในอนาคต หากเศรษฐกิจถดถอย

3.งบ Turn Key ในเอกสารงบประมาณระบุถึง งบประมาณของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 9.46 หมื่นล้านบาท โดยหลายโครงการจะเริ่มต้นก่อสร้างในปีงบประมาณ 2549

การที่รัฐบาลต้องการเร่งผลักดังโครงการโดยที่ยังไม่มีแผนระดมทุนชัดเจน โดยที่ยังไม่มีการศึกษาและออกแบบโครงการ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะนำการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการเหมาแบบเบ็ดเสร็จ หรือ Turn Key มาใช้ เพราะวิธีนี้มีข้อดี คือ การก่อสร้างได้เร็ว เพราะใช้วิธีออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง และผู้รับเหมาจะเป็นผู้รับผิดชอบในการระดมทุนเอง

แต่ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ การออกแบบไปพร้อมๆ กับการก่อสร้าง จะทำให้การควบคุมและตรวจสอบงานทำได้ยาก และจะมีผู้รับเหมาน้อยรายที่จะมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดให้มีสิทธิเข้าแข่งขันในการประกวดราคา และอาจเกิดการรวบรัดขั้นตอนดำเนินงาน
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

Sunday, August 15, 2010

สร้างเมืองด้วยปัญญา ทำได้อย่างไร



เมื่อวันศุกร์มีโอกาสได้เข้าร่วมฟังการปาฐกฐาพิเศษของ ผู้ที่เสนอตัวเองเป็นว่าที่ Candidate ผู้ว่าเมืองหลวงของกรุงเทพฯ ในวาระสมัยที่กำลังจะถึงในอีกไม่กี่เดือนนี้
professor kriengsak chareonwongsak

ด้วยการนำเสนอ Idea : 2020 กรุงเทพในอีก 12 ปีข้างหน้า
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์เจริญศักดิ์ กับ Slowcan "DR.DAN can do.... สร้างเมือง ด้วยปัญญา"
ท่านนำเสนอข้อมูลที่มาจากการวิเคราะห์เรื่องของอนาคตของ กทม. ในอีกสิบสองปี จากการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลพื้นฐานปัจจุบันว่า การที่ประชากรใน กทม.เรามีพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากมายหลายอย่างในวันนี้ จะสร้างปัญหาที่ใหญ่หลวงอะไรได้บ้างในอนาคตอีกสิบสองปีข้างหน้า
ทั้งปัญหาเรื่องของความเป็นอยู่ การครองชีพ ปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากร ปัญหาของคนวัยเด็ก วัยทำงาน รวมไปจนถึงปัญหาของวัยเกษียณที่จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคุณจากปัจจุบัน ปัญหาความเสื่อมโทรม ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม และอีกมายมาย และเรานี่เองคือคนที่จะต้องอยู่เผชิญกับปัญหาเหล่านั้นในอนาคตที่ว่า.... -_______-*
โดยสรุปปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องมีคนที่เข้าใจ และเตรียมพร้อมการวางแผนเพื่อรับมือด้วยวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น   ท่านนำเสนอตัวท่านเองเป็นตัวเลือกในการเข้ามาวางแนวทางต่างๆ ตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดปัญหาในอนาคตเหล่านั้น   ด้วยนโยบายในส่วนต่างๆ ที่น่าชื่นชม และเป็นนโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้นได้ เพียงแค่วันนี้คนกรุงเทพฯ จะมองเห็นและเข้าใจปัญหาต่างๆ เหล่านั้น และให้ความไว้วางใจท่าน ให้โอกาสให้ท่านและทีมงานได้เข้ามาพิสูจน์ตัวเอง และได้มีโอกาสผลักดันนโยบายเหล่านี้ให้เกิดขึ้น
"ใช้ “ปัญญา” สร้างเมือง มิใช่การขายนโยบายโดนใจให้คนเลือกเราไปทำหน้าที่  แต่ให้คนกรุงเทพฯทุกคนเห็นว่า เมื่อเลือกผู้ที่จะนำนโยบายเหล่านี้ไปทำอนาคตกรุงเทพฯในรุ่นอายุเรานี้  รวมทั้งสิ่งที่จะเหลือเป็นมรดกไว้ให้ลูกหลานของพวกเขานั้นจะอยู่ในสภาพเช่นไร.."


ในเบื้องต้นส่วนตัวของตัวเอง ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับบุคคลท่านนี้มากนัก
แต่หลังจากคืนนั้น ก็ได้ลองหาข้อมูลของ ดร.ท่านนี้ ข้อมูลความสำเร็จในหลายๆ อย่าง ความคิดและแนวทางต่างๆ ผลงานที่มีในอดีตฯ   โดยคร่าวๆ เห็นแล้วค่ะว่าตัวเองน่าจะลองให้โอกาสใครได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองหลวงของเราให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ตามความคิดและแนวนโยบายที่ถูกต้องเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ในอนาคตต่อไปข้างหน้าของเราและลูกหลานชาว กทม.

ที่สำคัญงานนี้ ไม่การพูดพาดพิงใคร ยกตนดีข่มคนอื่นด้อย กล่าวหาผู้อื่น หรือตำหนิติเตียนใคร อย่างที่เราเคยคุ้นกับสภาวะปกติของการหาเสียงเหมือนเช่นเคยค่ะ   
แค่การนำเสนอข้อมูล และวิธีการแก้ไขปัญหา การวางแผน นำเสนอนโยบาย และชี้ให้เราตระหนักกับปัญหาที่กำลังถาโถมเข้ามา และเสนอตนเองเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะป้องกันและบรรเทาปัญหาต่างๆ เหล่านั้น..    นี่ละ ที่ทำให้รู้สึกดีค่ะ

วิสัยทัศน์ที่ดี กับผู้นำที่ดี และนโยบายที่จับต้องได้ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของทุกท่าน
ใคร..จะเป็นผู้ว่า กทม.คนต่อไป..ท่านเป็นผู้เลือกให้ตัวท่านเองค่ะ


ตัวเรา...รู้แล้วค่ะ ว่าคนนั้นเป็นใคร..

"กรุงเทพฯ.. สร้างได้ด้วยปัญญา.."   เราจึงน่าจะลองใช้ปัญญากันหน่อยไหมคะ   คนบ้านเราใช้กำลัง ใช้ฝีปากทำงานกันมานาน ลองฝึกมาใช้สมองกับสองมือ สองเท้าพัฒนาสังคมกันบ้าง น่าจะดี... ค่ะ



Wednesday, March 31, 2010

Professor Kriengsak Chareonwongsak Gentleman

“ การจะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่านี่ต้องเกิดจากการทิ้งมรดกของการทำบางอย่างไว้ก่อนที่เราจะตายจากโลกนี้ไป แล้วก็อยากเป็นการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองในเชิงสร้างสรรค์ที่ทิ้งบ้านเมืองที่ดีในอนาคตเพื่อคนรุ่นต่อไปจะได้เป็นอยู่ ”

หากจะเปรียบเปรยคำพูดข้างต้นของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ชายผู้มากความสามารถ รวมถึงในฐานะนักคิด นักเขียน ผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 51 ปี ผู้นี้ คงเสมือนดั่งวรรคทองในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระปรมานุชิตชิโณรส ที่ว่า

พฤษภกาสร   อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง   สำคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย   มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี   ประดับไว้ในโลกา

อาจเป็นเพราะชีวิตมีอะไรให้ค้นหาไม่รู้จบ หนอนหนังสือตัวน้อยจึงเติบโตเป็นผีเสื้อแสนสวยสร้างสรรค์ความงามแก่โลกในภาระหน้าที่ตามวิถีทางแห่งชีวิตของตน

Professor Kriengsak Chareonwongsakเป็นคนอ่านหนังสือวันละเล่มตั่งแต่สมัยเป็นนักเรียนนะครับ ก็อ่านหนังสือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ปรัชญา การบริการ ประวัติบุคคลสำคัญ อ่านมาตลอดชีวิต และเป็นนักกิจกรรม Professor Kriengsak Chareonwongsakเป็นประธานค่ายอาสาพัฒนาของโรงเรียนอัสสัมชัญที่บางรักครับ ได้ไปทำกิจกรรมสร้างโรงเรียนในอีสานระหว่างปิดเทอมฤดูร้อนของโรงเรียน

“ อุดมการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในใจ ที่ค่อนข้างชัดเจนมาตั้งแต่เด็กนะครับ ก็เลยทำให้การดำเนินชีวิตในวิถีต่อมาในทิศทางที่จนถึงในวันนี้ในหลายอย่างก็เพราะเห็นว่า เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เชื่อมโยงกันหมด และคนเรามีโอกาสได้เล่นบทบาทในชีวิตหนึ่งนี่ได้จำกัด เพราะเวลาชีวิตความเป็นผู้ใหญ่มีน้อย เราต้องวางการตัดสินใจให้น้ำหนักคุณค่าชีวิตอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องคิดเชิงปรัชญากับชีวิต ต้องคิดเชิงความสมจริงกับการที่จะมองไปข้างหน้าว่าเราอยากจะให้ชีวิตเราไปทำอะไรเพื่อทำให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในบ้านเมือง ความสนใจอันนี้จึงเกิดขึ้นมาตั่งแต่เด็กและไม่เคยจืดจางหายไปครับ ”

ในบทบาทนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ผู้มีผลงานอันมีคุณูปการต่อประเทศ ทั้งยังมีประสบการณ์ด้านการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การต่างประเทศ สังคม และการศึกษา กับตำแหน่งในฐานะที่ปรึกษาของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศมาหลายยุคหลายสมัย ทั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และล่าสุดก่อนที่จะโดดเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวในสภาผู้แทนราษฎร คือ ผู้อำนายการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ( Institute of Future Studies for Development: ; IFD ) สะท้อนมุมมองพัฒนาการของเมืองไทยในสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้กระทำ และรับรู้

“ ที่เราถูกจัดอันดับให้อยู่ล่างๆ เป็นเพราะว่าเรานำเข้าเทคโนโลยีมากเกินไป และองค์ความรู้ที่มีอยู่ก็ถูกกำหนดโดยกลุ่มผู้ปกครองที่นำสิ่งเหล่านี้เข้ามา ดังที่สังคมไทยประสบเรื่องมาตั้งแต่อดีตหรือเปล่า

“ ผู้ทำงานวิจัยก็ไม่ได้รับเกียรติ ไม่ได้รับเงินทองตอบแทน ไม่ได้คุณค่าเชิงปัญญามากนัก ไม่มีใครเอาไปใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมก็ไม่มาเชื่อมโยงกับงานวิจัย การเอาไปใช้ประโยชน์เชิงสังคมก็ไม่เต็มที่ สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้งานวิจัยเราอ่อนแออยู่เหมือนกัน เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการลอกเลียนแบบ การขอซื้อเข้ามาของเทคโนโลยี การขอถ่ายโอนเทคโนโลยี การขโมยเทคโนโลยี

“ แต่การสร้างเทคโนโลยีด้วยภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของเรามีไม่มาก เมื่อมีไม่มากเราก็ไม่มีอะไรที่จะสามารถไปขายเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญารูปแบบนี้ได้เต็มที่นัก ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายอย่างที่ดีของเราก็ไม่ได้นำมาจัดระบบเป็นวิทยาศาสตร์

“ เช่น เรารู้ว่าสมุนไพรนี่ดีเราก็ไม่ได้ไปวิจัยกันจนถึงแก่สูตรเคมีว่ามันเป็นสูตรอะไรเพื่อจดทะเบียนได้ เรารู้เพียงแต่ว่าต้องเอาของอันนี้มา 3 กำผสมกับสมุนไพรอีกแบบหนึ่งแล้วนำไปต้มใสหม้อไว้แล้วก็กิน แต่เราไม่รู้ว่าเบื้องหลังสมุนไพรมันมีสาสารอะไรบ้างที่เราสกัดมาจากห้องแลบวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะเรียกชื่อเป็นสากลทางเคมี ทางรหัสวิทยาศาสตร์แล้วจะได้เอาไปจดทะเบียน แล้วเอาไปต่อยอดทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มูลค่าเพิ่ม ”

คนไทยใช่ว่าโง่ แต่คนไทยไม่ขวนขวาย และขาดการส่งเสริมในวิถีทางที่เหมาะที่ควร ถูกสร้างภาพมายาให้นับถือ ' วัตถุ ' มากกว่า ‘ ปัญญา ' สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในปัจจัยของการเดินตามมหาอำนาจไม่สิ้นสุด

“ ความไม่รู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ดี ความไม่สนใจเรียนที่วิชาการที่มันเพิ่มขึ้น คณิตศาสตร์เราก็แทบไม่เรียนอย่างจริงจัง ฟิสิกส์ก็ไม่เรียนวิชาอะไรที่เรียนยากๆ เราก็หนีหมด เราบูชา … Professor Kriengsak Chareonwongsakใช้คำๆ หนึ่งว่า เราเป็นปริญญาชนเราไม่ชอบเป็นปัญญาชน นี่เป็นคำพูดที่ Professor Kriengsak Chareonwongsak สร้างขึ้นนานแล้ว แล้วเราบูชาวุฒิบัตรที่เอามาปะข้างฝาโชว์เพื่อนให้รู้สึกเราน่าภูมิใจ แต่ไม่ได้สนใจเนื้อหาที่เรียนจริง

“ ถ้าเผื่อว่าเรายังสนใจอย่างนี้แล้วทำมหาวิทยาลัยของเราให้เป็นโรงงานผลิตปริญญาต่อไปโดยไม่สนใจคุณภาพ วันหนึ่งเราก็จะเศร้าใจว่าคนที่เราผลิตออกมาไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นักอันนี้ก็ทำให้เราอ่อนด้อยบ้าง ”

เฉกเช่นแวดวง ‘ คนในเครื่องแบบ ' หรือ ' คนมีสี ' องค์กรทางสังคม ซึ่งขับเคลื่อนความเจริญของประเทศชาติอยู่เบื้องหลังเสมอมา หากแต่โลกเปลี่ยนบทบาทต้องเปลี่ยนตาม คนในระบบราชการจึงต้องผันแปรไปตามทิศทางลมโดยไม่ไหวเอนต่อความเปลี่ยนแปลงอันถาโถมอย่างรุนแรง แม้ภาระความรับผิดชอบ และระบบที่พันธนาการการเคลื่อนไหวไม่อิสระเท่าเอกชนก็ตาม

“ คำว่า คนมีสี อาจดูเป็นคำแง่ลบไป ขออนุญาตเรียกว่า คนในเครื่องแบบ จะเหมาะสมกว่า ในที่นี้ครอบคลุมกลุ่มทหาร ตำรวจ และรวมถึงกลุ่มข้าราชการด้วย สำหรับProfessor Kriengsak Chareonwongsakแล้วมองว่าสถาบันทั้งสามมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งต่อความสงบเรียบร้อย ความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงของประเทศ

“ ทั้ง 3 สถาบันนี้เป็นสถาบันที่มีอำนาจ ซึ่งนำมาใช้อย่างเสียสละเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

สถาบันทหาร - ปกป้องประเทศจากการรุกราน รักษาความมั่นคงของประเทศ

สถาบันตำรวจ - เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

สถาบันข้าราชการ - ทำงานเพื่อประชาชน มีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศ

“ กลุ่มบุคคลเหล่านี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น ผู้เสียสละ เพราะนอกจากยินดีรับรายได้ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับภาคเอกชนแล้ว ยังยินดีเสียสละในการทำงานที่ยากลำบาก เสี่ยงอันตราย และทุ่มเท เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนในยามที่เกิดปัญหาและวิกฤตต่าง ๆ ในบ้านเมือง

“ นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มคนที่เรียกว่ามีความเป็นเอกภาพ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา สามารถเรียกปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อมีภารกิจด่วน

“ ภาพที่น่าประทับใจในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ ตำรวจจำนวนหลายร้อยนายได้เสียสละมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลตรวจตราความเรียบร้อยและรักษาความสงบ ในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเป็นเวลาต่อเนื่องหลายวัน หรือเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทหารจำนวนมากได้ลงไปปฏิบัติภารกิจ โดยพยายามร่วมมือกับประชาชนและเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างของชุมชนมากขึ้น ”

เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกนัก หากจะเปรียบกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นเสมือนโล่คุ้มภัยปกป้องสังคมท่ามกลางปัญหารุมเร้านานัปการ

“ Professor Kriengsak Chareonwongsakมองว่า ความมั่นของชาติ เป็นเหมือน ความมั่นคงของชีวิต คนที่ต้องการให้ชีวิตตนเองและคนในครอบครัวมั่นคง มักจะซื้อประกันไว้ แม้จะยังไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆ แต่การมีประกันย่อมทำให้อุ่นใจได้มากกว่า สำหรับบางคนหากไม่มีสถานการณ์วิกฤตเกิดขึ้นอาจรู้สึกไม่ค่อยเห็นคุณค่าการประกันมากนัก

“ เช่นเดียวกับ สถาบันทหารและตำรวจ ก็เหมือนกับระบบประกัน เหมือนประเทศของเราซื้อประกัน เราจะรู้สึกหรือตระหนักว่ามีประโยชน์ ก็ต่อเมื่อเกิดปัญหา เกิดวิกฤตขึ้นทำให้ต้องพึ่งพา เมื่อเราได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ช่วยเหลือจากบุคคลในสถาบันเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันที่ประกันความมั่นคงของชาติ กองทัพที่เข้มแข็ง มีความพร้อมด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ เรียกได้ว่าเป็นดัชนีชี้วัดความมั่นคงของชาติ ประเทศต่าง ๆ จึงต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้ไว้เสมอ กองกำลังตำรวจที่เข้มแข็ง ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้เช่นกัน

“ กลุ่มบุคคลในสถาบันเหล่านี้จึงเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง จำเป็นต้องใช้อำนาจที่มีอยู่ภายในขอบเขต และใช้อำนาจด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้เพื่อปกป้องประเทศชาติและประโยชน์สุขของตน ไม่ควรมีใครสักคนใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมเพื่อแสวงหาประโยชน์ต่อตนเอง และเอารัดเอาเปรียบประชาชน ”

เมื่อย้อนถึงเส้นทางชีวิตของชายหนุ่มผู้แบกประสบการณ์ชีวิตไว้เต็มหลังผู้นี้ ครอบครัว คือผู้มอบตะกร้าใบใหญ่ให้เขาเดินออกไปจับจ่ายความรู้เอามาเป็นทุนชีวิต

“ Professor Kriengsak Chareonwongsakก็โชคดีที่โตมาในครอบครัวที่มีองค์ประกอบดีๆ หลายอย่าง อันแรกก็คือเป็นครอบครัวที่ให้เสรีภาพกับลูกในการจะคิด ไม่ได้สั่งการให้เราทำคือโดยที่ไม่ได้คิดเองเป็น เราต้องคิดเองเป็น แล้วก็ไม่ได้เป็นครอบครัวที่ไม่ได้ให้เราใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย แม้Professor Kriengsak Chareonwongsakเกิดในครอบครัวที่มีฐานะใช้ได้ ก็รู้สึกเหมือนว่าเราถูกสอนให้ประหยัด อดออม ให้รู้จักไม่มองวัตถุเป็นของสำคัญ ให้รู้จักคุณค่าของความเป็นคน ถูกสอนให้เห็นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสิ่งสำคัญมาก ”

การหล่อหลอมจากครอบครัว และสังคมที่ดีทำให้การเกิดผ่องถ่ายสิ่งดีๆ เหล่านั้นกลับสู่สังคมเมื่อเวลาและโอกาสมาถึง

“ อุดมการณ์ของProfessor Kriengsak Chareonwongsakเกิดจากหลายสิ่ง ผสมกันทำให้เวลาไปเรียนต่างประเทศProfessor Kriengsak Chareonwongsakก็เลือกเรียนในสิ่งที่Professor Kriengsak Chareonwongsakชอบทำให้มีความสุขกับสิ่งที่เราทำไม่ได้จำใจว่าเราต้องทำเพราะถูกบังคับด้วยกระแสสังคม แรงกดดันของครอบครัว ความจำเป็นในการอยู่รอดอนาคตของอาชีพ แต่เราเลือกกับสิ่งที่ตรงกับความถนัด ความสนใจ อุดมการณ์ถ้าใช้คำนี้ก็น่าจะถูกทำให้เรามีอุดมการณ์ชีวิตทำให้เรามีคุณค่า ทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราเป็นทาสของระบบสังคม

“ แต่เราเป็นนายเหนือตัวเองที่มีสิทธิ์จะเลือกได้ทำให้เราทำไปอย่างมีความเต็มใจ สิ่งนี้ก็ทำให้เราเป็นอย่างนั้นเชื่อมั่นว่าจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าเรามีความสุขในสิ่งที่เราทำแล้วProfessor Kriengsak Chareonwongsakก็มีความสุขทุกช่วงชีวิตตั่งแต่เกิดจนถึงวันนี้เลยครับ ”

ขณะที่หลายคนมีทิศทางการดำเนินชีวิตหลายรูปแบบ แต่เด็กชายเกรียงศักดิ์ กำหนดทิศชีวิต และทำตามวิถีทางที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์ในแบบฉบับของผู้ชายคนหนึ่ง(ที่ไม่ใช่ผู้วิเศษ)

“ ทิศทางProfessor Kriengsak Chareonwongsakง่ายมากเลยครับ เพราะProfessor Kriengsak Chareonwongsakสรุปมาแต่เด็กแล้วว่าProfessor Kriengsak Chareonwongsakอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทิ้งมรดกความประพฤติที่ทำให้ประเทศไทยดีขึ้นกว่าเดิม มีส่วนช่วยพัฒนาสร้างสรรค์ประเทศชาติให้น่าอยู่ แก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็คืออุดมการณ์

“ ใช้ชีวิตเพื่อสร้างสังคมประเทศชาติเมื่อเด็กคิดอย่างนั้น เพราะได้ทำกิจกรรม พอเรียนหนังสือก็เลยตัดสินใจตามกระบวนคิดของโลกทัศน์ที่มีอยู่ นั่นก็คือProfessor Kriengsak Chareonwongsakอยากจะเรียนสิ่งที่ตรงกับความถนัด นำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาบ้านเมือง Professor Kriengsak Chareonwongsakก็เลยเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ ความจริงProfessor Kriengsak Chareonwongsakมีโอกาสได้เรียนแพทย์ มีโอกาสได้เรียนวิศวกรรมศาสตร์ Professor Kriengsak Chareonwongsakเป็นนักเรียนทุนที่มีโอกาสได้ทำ แต่Professor Kriengsak Chareonwongsakเองเลือกสิ่งที่Professor Kriengsak Chareonwongsakคิดว่าเป็นภาพรวม มหภาคของสังคม ”

ซึ่งผลผลิตทางความคิดของเขาได้ถ่ายทอดออกเป็นบทบันทึกทางสังคมในรูปแบบหนังสือ ตามเจตนารมณ์อันแรงกล้า

“ ถ้าเราเขียนหนังสือวันนี้เราตายผุพังเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยไปแต่ความคิดเราอยู่ถ้าเขียนหนังสือ อุดมการณ์ก็ผลักดันProfessor Kriengsak Chareonwongsakให้เขียนหนังสือเพื่อทิ้งความคิดให้คนอื่นช่วยทำ ถ้าเราทำไม่เสร็จการเขียนหนังสือก็เป็นวิถีทางปัญญาในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่Professor Kriengsak Chareonwongsakสรุปมาแล้วตั่งแต่ต้นว่าวิถีทางในการทางความคิดสำคัญที่สุด

“ เป็นปัญญาชนที่สำคัญคือ การค้นหาองค์ความรู้ กระจายองค์ความรู้ช่วยสังคมไปProfessor Kriengsak Chareonwongsakจึงเลือกวิถีการเป็นครูบาอาจารย์ด้วยอุดมการณ์อีกเหมือนกัน เขียนหนังสือก็ด้วยอุดมการณ์ ตั้งบริษัทพิมพ์หนังสือขึ้นมา Professor Kriengsak Chareonwongsakเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ซัคเซส และก็มีบริษัทหลายอย่าง คือถ้าไปดูมันจะตรงกับอุดมการณ์ เช่นมีสำนักพิมพ์ก็เพื่อจะเผยแพร่ความรู้ให้กว้างที่สุดที่ประเทศไทย ต่างประเทศก็เพื่ออุดมการณ์เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ก็เพื่อเผยแพร่ความคิดของอุดมการณ์ การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก็เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความคิด ให้คนไทยได้รับแง่คิดเพื่อจะช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศสังคม

“ ทุกอิริยาบถที่Professor Kriengsak Chareonwongsakทำมันถูกควบคุมด้วยโลกใบนี้คนที่Professor Kriengsak Chareonwongsakต้องการเห็นประเทศชาติเชิงบวกตั้งแต่เด็ก ”

จากนักคิด นักเขียน สู่การเป็นที่ปรึกษา หนึ่งในเซลล์สมองของการพัฒนาชาติ

“ การไปเป็นที่ปรึกษาในวุฒิสภาและที่ปรึกษาในสภาผู้แทนราษฎรในคณะต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมาก็ทำให้อุดมการณ์ของเราไปใส่ในมือของผู้ที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยเพื่อจะไปแก้กฎหมาย เพื่อจะไปทำหน้าที่ในบ้านเมืองให้เป็นไปตามที่เราคิดว่าดี ก็เพื่ออุดมการณ์ก็เต็มใจไปช่วยแม้ไม่ได้อะไรเลย

“ ไปเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีก็ดี เป็นที่ปรึกษามายกรัฐมนตรีก็ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็ดี ก็ด้วยอุดมการณ์ก็ถือว่าเค้าถืออำนาจรัฐเราสามารถ ถ้าจะมีคำแนะนำที่ดีมีส่วนช่วยโดยทำหน้าที่อยู่เบื้องหลังที่ดี ก็คือการช่วยชาติ Professor Kriengsak Chareonwongsakก็เลยไม่ได้แบ่งว่าเป็นพรรคใดไม่ได้ถือว่าทุกคนต้องดีบริสุทธิ์ เลิศล้ำ แต่ขอให้ทำหน้าที่จุดไหนดี ก็ช่วยส่งเสริมเขาไปเพื่อให้บ้านเมืองได้อานิสงส์Professor Kriengsak Chareonwongsakก็ยินดีเต็มใจกว้าง

“ จะเห็นว่าProfessor Kriengsak Chareonwongsakช่วยกว้างขวางหมดทุกพรรคแบบที่ไม่ได้ฝักใฝ่ แต่หวังว่าจะได้ให้ประโยชน์กับประเทศชาติเพื่ออุดมการณ์ถ้าเราพาตัวถอยห่างมาไกลแล้วไม่เข้าไปช่วย แล้วเราปล่อยเขาเขาก็ไม่ได้คำแนะนำที่เราคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ก็ทำเพื่ออุดมการณ์อีก

“ ไปทำที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ยังเป็นองค์กรในรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่โดยตรงมีกฎหมายรองรับทั้งรัฐธรรมนูญ ทั้งพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติที่มีหน้าที่เทียบรัฐมนตรี อันนี้ก็ตรงเลยหวังว่าจะไปทำให้รัฐมนตรีทำสิ่งที่ดีๆ ก็อุดมการณ์ ”

บางทีการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอาจะไม่เป็นไปดั่งใจหมาย กลับกลายเป็นพลังให้นักวิชาการเปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมืองเต็มตัว

นอกเหนือจากการเป็นนักวิชาการ เขาคือนักเดินทาง กับประสบการณ์ชีวิตของนักเดินทางผู้มากมิตร ในความรู้สึกที่ว่า ถ้าหากวันหนึ่งไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เดินไปเคาะประตูบ้านเพื่อนๆ จะได้รับอะไรตอบกลับมา

Professor Kriengsak Chareonwongsakเป็นคนซึ่งถือว่ามิตรภาพไมตรีจิตเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง สะสม 3 อย่างเท่านั้นในชีวิต นอกนั้นไม่ได้สะสมมันมาเอง อาจจะมีบ้างบางอย่างโดยที่ไม่ได้สะสมแต่ตั้งใจสะสมมี 3 อย่าง 1.มิตรภาพ 2.หนังสือ 3.ความคิด ความคิดก็แปลมาเป็นข้อเขียน สัญลักษณ์ของความคิดคือปากกา หนังสือนี่สะสมเพราะเป็นภูมิปัญญาความรู้ โลกขับเคลื่อนด้วยความรู้ มิตรภาพนี่ทำให้ชีวิตมีความสุข Professor Kriengsak Chareonwongsakตั้งใจสะสมProfessor Kriengsak Chareonwongsakมีเพื่อนมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย Professor Kriengsak Chareonwongsakสามารถอาศัยนอนบ้านเพื่อนได้ทุกที่โดยไม่ต้องใช้โรงแรมถ้าไม่อยากใช้

“ ฉะนั้นทั่วโลกProfessor Kriengsak Chareonwongsakก็มีเพื่อนมากมายมหาศาล Professor Kriengsak Chareonwongsakคิดว่าProfessor Kriengsak Chareonwongsakเป็นคนโชคดีมีเพื่อนมาก มิตรภาพไมตรีจิตนั้นเป็นสิ่งที่ดีเลิศมีคุณค่า แต่จะมีได้โดยต้องไม่เอาเปรียบเพื่อน ต้องหวังดีกับเพื่อนต้องไม่คบกันด้วยผลประโยชน์ แต่เมื่อเรายิ่งคบกันแล้วไม่ได้คิดจะเอาประโยชน์ แต่เราหวังจะให้ประโยชน์ แน่นอนเราต้องพึ่งพากันเพราะถ้าเพื่อนมีน้ำใจต่อเราในยามจำเป็นมันก็ทำให้เกิดความรู้สึกขอบคุณที่เขานึกถึงเรา แต่การตั้งใจจะไปขออะไรใครProfessor Kriengsak Chareonwongsakไม่มี ยกเว้นแต่ไปขอเพื่อเพื่อนสนิทเป็นส่วนใหญ่ขอเพื่อตัวเองแทบไม่เคยทำ ส่วนใหญ่จะไปขอเพื่อนเพื่อช่วยกันทำต่อๆ

“ การพึ่งพากันก็เป็นเรื่องธรรมดา เราทุกคนโยงใยกันไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่พึ่งคนอื่น Professor Kriengsak Chareonwongsakก็คิดว่าวันไหนProfessor Kriengsak Chareonwongsakจะไปหาใคร Professor Kriengsak Chareonwongsakเชื่อมั่นว่าเพื่อนๆ Professor Kriengsak Chareonwongsakส่วนใหญ่จะตอบสนองนะครับ ”

ในภาวะที่ระบบอุปถัมภ์ถูกวิพากษ์หนาหูโดยเฉพาะในฟากการเมือง และธุรกิจ เมืองไทยในสายตาของผู้มากบทบาทชีวิต น่าคิดนัก...

Professor Kriengsak Chareonwongsakว่าระบบอุปถัมภ์เป็นระบบที่อยู่ในสังคมไทยแบบลึกซึ้งมาก ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันไม่ได้หายไปไหน เพียงเปลี่ยนหน้ากาก เปลี่ยนรูปแบบการแสดงออกเท่านั้นเอง ซึ่งก็หวังลึกมากในสังคมไทย เราก็รู้ว่าถ้าเราอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของใครก็มีประโยชน์เจือสมกันทั้ง 2 ฝ่าย" ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าว 

“ ฉะนั้นระบบนี้ถ้าใช้ทางที่ถูกก็ดี แต่ถ้าใช้ทางที่ผิดก็เสียหายหนักมันทำให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก ทำให้ระบบคุณธรรมไม่เกิด แต่เครือญาติเพื่อนฝูงได้ประโยชน์ แต่คนอื่นไม่ได้ประโยชน์และกีดกันคนดีด้วย ฉะนั้นระบบอุปถัมภ์จึงควรใช้ในทางที่ถูก ก็คือมีน้ำใจกับคนอื่น ไม่ใช่อุปถัมภ์แต่ตัวเอง แต่อุปถัมภ์คนอื่นโดยใช้หลักเกณฑ์ที่มีความเป็นธรรม ”

เมื่อนักคิดที่ชื่อ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ลองทำนายอนาคต(โดยนำสถานการณ์ปัจจุบันมาประกอบ)

“ ทิศทางของประเทศไทยพุ่งไปทางทิศเดียวกันกับสังคมโลกที่กระแสพาไป แต่ตรงรอยต่อเป็นรอยต่อที่มีความขัดแย้งทำยังไงจะจัดการเพื่อให้คนบางกลุ่มไม่เสียผลประโยชน์ในเชิงเขาเดือดร้อนสาหัส ทำยังไงจะกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึง และตรงรอยต่อนั้นไม่ทำให้ผู้อ่อนด้อย เสียเปรียบถูกทอดทิ้งอย่างโหดร้ายเพราะสังคมที่ต่อสู้กันแบบมีผู้แพ้ผู้ชนะอย่างเดียวจะทำให้ผู้แพ้ที่แพ้ถาวรไม่มีปัญญาลุกขึ้นชนะ บางเรื่องจะเป็นผู้ที่ตกเวทีโลกสูญเสียโอกาสไปมาก ตกทุกข์ได้ยากมาก ต้องมีเมตตาธรรมต่อกันสังคมที่มีคุณธรรมจึงสำคัญในโลกที่ใช้ประสิทธิภาพวัดกันแข่งขันกันอย่างสุดๆ ”

“ ระบบการแข่งขันเป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อจะพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ กระแสโลกได้บีบเราแต่จำเป็นต้องมียีนส์สำหรับซึ่งคนอ่อนแอ ที่แข่งไม่ไหวเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีมีความสำคัญสำหรับโดยที่ยิ่งไม่ต้องการการแข่งขันจนเกินตัวไป ”

“ การมองทุกมิติวันนี้ตาProfessor Kriengsak Chareonwongsakสว่างขึ้นในการที่ตกผลึกในการที่อ่านมามากก็ดี วิจัยมามากก็ดี เล่นบทบาทมาหลายบทบาทในสังคมก็ดี บังเอิญเป็นคนโชคดีที่เป็นรอยต่อของหลายบทบาทมาก ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสเหมือนProfessor Kriengsak Chareonwongsak Professor Kriengsak Chareonwongsakมีบทบาททั้งทางวิชาการ บทบาททั้งทางธุรกิจบทบาทในการบริหาร บทบาทกับการทำงานกับมวลชน บทบาททั้งการเป็นสื่อมวลชนขยายต่อมาจากทางวิชาการ บทบาททางภาคราชการ บทบาททางภาคเอกชน บทบาททางการเมือง" ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ย้ำเพิ่ม

“ ถนนหลายสายชีวิตมันตัดกันจนทำให้เห็นบูรณาการตรงนี้ทำให้Professor Kriengsak Chareonwongsakรู้สึกเหมือนมันมีปิ๊งขึ้นอยู่กลางสมอง มีเส้นทางการใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ที่สุดนี่ ในสิ่งที่เป็นประสบการณ์ที่เราวิวัฒนาการมาต้องเป็นอย่างไร ก็เลยทำให้Professor Kriengsak Chareonwongsakเห็นภาพครบมิติมากขึ้นเพราะมันเมื่อเห็นภาพครบมิติก็ขับเคลื่อนพฤติกรรมให้ครบมิติมากขึ้นครับ ”

“ ฉะนั้นชีวิตคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องพัฒนาคน พัฒนานิสัยตลอดชีวิต Professor Kriengsak Chareonwongsakคิดว่านิสัยเป็นฐานสำคัญที่สุดกว่าความรู้ ทักษะ Professor Kriengsak Chareonwongsakก็ตั้งใจอยากที่จะทำอย่างนั้นก็มีอะไรดีๆบ้างที่มีอิทธิพลต่อลูกศิษย์ Professor Kriengsak Chareonwongsakก็ดีใจที่เค้าจะได้เลียนแบบเรา ” ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าว

ผลลัพธ์แห่งการกระทำและความภาคภูมิใจในชีวิตที่ผ่านมา 5 ทศวรรษ ไม่มีอะไรมากไปกว่าผลผลิตทางสังคมที่จะได้รับการเพาะพันธุ์อย่างเอาใจใส่และกำลังเติบโตมอบผลิตผลเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

“ Professor Kriengsak Chareonwongsakภาคภูมิใจมากที่สุดก็คือสิ่งที่Professor Kriengsak Chareonwongsakคิด สิ่งที่Professor Kriengsak Chareonwongsakมอง สิ่งที่Professor Kriengsak Chareonwongsakกระทำนั้นได้ปรากฏในบางด้านของลูกๆ ของProfessor Kriengsak Chareonwongsakนั่นเป็นการบอกถึงว่าคนที่ใกล้ตัวสุด ทำยากสุดลูกProfessor Kriengsak Chareonwongsakทั้ง 2 คนก็ได้ค่านิยมที่ดีProfessor Kriengsak Chareonwongsakไปบางอย่างProfessor Kriengsak Chareonwongsakไม่ได้ถือว่าเค้าดีเลิศสมบูรณ์แบบ แต่เค้าเป็นคนค่อนข้างดีในสายตาProfessor Kriengsak Chareonwongsak เช่นลูกชายคนโตProfessor Kriengsak Chareonwongsakก็ประสบความสำเร็จในการเรียน คนเล็กก็เช่นกัน ” 

“ Professor Kriengsak Chareonwongsakคิดว่าเป็นเรื่องที่เกิดได้ในชีวิตจริงของคนใกล้ตัวเรา เป็นความดีใจว่าเรานั้นไม่ได้พร่ำสอนคนอื่นให้การศึกษาไทยดีแต่แล้วลูกตัวเองล้มเหลวก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี Professor Kriengsak Chareonwongsakดีใจที่ลูกเราโตมาไม่ได้ทำร้ายใคร ไม่ได้คิดจะไปโกงไป มุ่งมั่นอยู่ในคุณหลักธรรมพอสมควรทีเดียว Professor Kriengsak Chareonwongsakคิดว่าอันนี้ทำให้ภูมิใจและดีใจว่าลูกเรานั้นเป็นคนดี Professor Kriengsak Chareonwongsakภูมิใจที่สุดยิ่งกว่าการเรียนอีกครับ ลูกProfessor Kriengsak Chareonwongsakเรียนอยู่ที่เมืองนอกครับเมื่อก่อนตอนเด็กๆ ก็เรียนอยู่ใกล้กันแต่ว่าตอนเขาโตขึ้นแล้วเขาก็อยู่ต่างประเทศเราก็ติดต่อกันครับ อีเมล์ติดต่อกัน คุยโทรศัพท์มาเยี่ยมทีไรก็ยังคุยอยู่เค้าก็โตแล้วก็ไม่ค่อยลำบากแล้ว ”

Friday, January 22, 2010

เจาะลึกถึงเบื้องหลังความสำเร็จของประเทศ

ความตื่นตาตื่นใจจากพิธีเปิด ndash; พิธีปิด การแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ที่เพิ่งจบไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา มีความยิ่งใหญ่อลังการ ทั้งแสงสีประกอบการแสดง และการแสดงชุดต่าง ๆ ที่ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของชาวจีนที่ได้รับฝึกฝนมาอย่างดี จนดูเหมือนเกินความสามารถของคนธรรมดาทั่วไปที่จะทำได้

หากเจาะลึกถึงเบื้องหลังความสำเร็จของประเทศเจ้าภาพอย่างจีนแล้ว เราจะยิ่งพบกับความน่าทึ่งในการเตรียมความพร้อมของคนในประเทศ ซึ่งไม่ใช่เพียงการเตรียมคนเพื่อกีฬาโอลิมปิคเท่านั้น แต่ได้สะท้อนถึงการพัฒนาคนตามศักยภาพ ความสามารถมาโดยตลอด เมื่อถึงเวลาต้องนำความสามารถเรื่องใดมาใช้ จึงรวบรวมคนเหล่านั้นมาพัฒนาฝึกฝน จนเกิดความชำนาญมากขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศในขณะนั้น

ผมเชื่อมั่นว่า คนไทยมีศักยภาพไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาล โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติ ยิ่งควรได้รับการส่งเสริมให้ค้นหาศักยภาพ ความสามารถของตนเอง พัฒนา ฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะ ความชำนาญ เป็นการเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศอย่างครบทุกด้าน

ส-ส่งเสริมค้นหาความถนัด รู้จักตนเองอย่างรอบด้าน รัฐอาจปรับปรุงระบบการศึกษาให้ส่งเสริมเด็กได้ค้นหาความชอบของตนผ่านกิจกรรม ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกห้องเรียน เช่น การทำแบบทดสอบความสามารถ การเปิดโอกาสให้เด็กทำงานร่วมกัน เปิดเวทีกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้ ทั้งเชิงวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี ศิลปะ การแสดง กีฬา

ส-สนุกอย่างสร้างสรรค์ เปิดพื้นที่กิจกรรม ปลดปล่อย ศักยภาพเชิงบวก รัฐบาลอาจร่วมมือกับเอกชน หน่วยงานต่าง ๆ เปิดพื้นที่กิจกรรมใกล้บ้านเช่น สวนสาธารณะ สวนหย่อม ห้างสรรพสินค้า เพื่อให้เด็กสามารถรวมตัวกันทำกิจกรรมที่ชอบ ได้แสดงออกตามความถนัดและความสนใจ อีกทั้งมีสถานที่สำหรับฝึกฝนทักษะของตนเองให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น

ส-สนับสนุนพัฒนาศักยภาพ ต่อเนื่องจริงจัง โดยการ เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง รัฐ โรงเรียน และเอกชน เพื่อส่งเสริมงบประมาณการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ จัดหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านฝึกอบรมในโปรแกรมต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองทำในภาคปฏิบัติจริงในช่วงเวลาว่างหรือปิดภาคเรียน เพื่อให้เด็กได้รับการฝึกฝนในด้านนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง

ผมเชื่อว่า หากเราเริ่มต้นเตรียมความพร้อมของคน โดยค้นหา และพัฒนาศักยภาพอย่างจริงจัง เป็นระบบแล้ว ความฝันที่ว่า ประเทศของเราจะเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ บนเวทีโลก ทั้งด้าน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การกีฬา ฯลฯ คงไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป

credit by www.kriengsak.com

Professor Kriengsak Chareonwongsak