Sunday, September 20, 2009

Professor Kriengsak Chareonwongsak


รัฐบาลใช้หลักการใดจัดลำดับความสำคัญ

ทัศนะวิจารณ์ : ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

มติของคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ที่จะดึงโครงการเมกะโปรเจค ได้แก่ รถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีม่วง สีน้ำเงิน และสีแดง ออกจากโครงการโมเดิร์นไนเซชั่น เพื่อมาดำเนินการก่อน โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปตามลำดับความสำคัญ แต่คำถามคือ “โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายมีลำดับความสำคัญสูงสุดจริงหรือไม่”

ในช่วงรัฐบาลทักษิณ 1 คณะทำงานนโยบายเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง ที่มีนายโอฬาร ไชยประวัติ เป็นประธาน ได้เห็นชอบหลักการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเมกะโปรเจค โดยมีหลักการ 4 ประการคือ โครงการที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยดูจาก Internal Rate of Return (IRR) โครงการที่ให้ผลตอบแทนเร็ว โครงการที่มีการนำเข้าปัจจัยการผลิตต่ำ และโครงการที่มีการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ

ต่อมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ทำการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการเมกะโปรเจค ตามหลักการ 4 ประการข้างต้น ผลการศึกษาพบว่า โครงการโทรคมนาคมมีลำดับความสำคัญสูงสุด โครงการด้านการศึกษาและสาธารณสุข โครงการที่อยู่อาศัย โครงการคมนาคมทางอากาศ โครงการเกษตรกรรมและชลประทาน โครงการพลังงาน มีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ และโครงการคมนาคมทางบก (รวมทั้งรถไฟฟ้า) มีลำดับความสำคัญต่ำ

แต่รัฐบาลไม่ได้จัดลำดับความสำคัญตามที่ได้ศึกษาไว้ โดยให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟฟ้ามากกว่าโครงการด้านน้ำ ทั้งที่โครงการด้านน้ำมีลำดับความสำคัญสูงกว่า สังเกตได้จากโครงการด้านน้ำถูกลดเป้าหมายลงเรื่อย ๆ เพราะจากการศึกษาของหน่วยราชการพบว่า หากดำเนินโครงการน้ำทั้งระบบต้องใช้งบ 1 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลเปิดตัวโครงการเมื่อ 23 กรกฎาคม 2546 ประกาศจะใช้เงินลงทุน 4 แสนล้านบาท แต่ต่อมาลดลงเหลือเพียง 2 แสนล้านบาท ขณะที่โครงการรถไฟฟ้ากลับได้รับความสำคัญมากขึ้น จากเดิมที่รัฐบาลประกาศสร้างรถไฟฟ้า 7 สาย แต่ต่อมากลับเพิ่มขึ้นอีก 3 สาย เป็น 10 สาย ทั้ง ๆ ที่อีก 3 สายที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีผลการศึกษา

คำถามคือ “รัฐบาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดลำดับความสำคัญ” ในเมื่อไม่ใช่หลักการในเชิงวิชาการที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว คำถามต่อมา คือ “เหตุใดรัฐบาลจึงเลือกทำรถไฟฟ้า 3 สายดังกล่าวก่อน” แต่ไม่เลือกอีก 7 สายที่เหลือ

คำตอบหนึ่งของคำถามนี้ น่าจะเป็นประเด็นความพร้อมในการลงทุน เพราะรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ได้มีการศึกษาและออกแบบไปมากกว่าหลาย ๆ สาย แต่มีข้อที่น่าสังเกตว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เลือก ทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน และเขียวเข้มก่อน ทั้ง ๆ ที่มีความพร้อมและมีความสำคัญสูง

หากเปรียบเทียบลำดับความสำคัญของโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ โดยใช้หลักการ 4 ประการข้างต้น เราจะพบว่า หลักการด้านระยะเวลาให้ผลตอบแทน การนำเข้าปัจจัยการผลิต และการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ไม่น่าจะแตกต่างกัน ดังนั้นลำดับความสำคัญของโครงการรถไฟฟ้าจึงสามารถพิจารณาได้จากหลักการเดียวเท่านั้น คือ อัตราผลตอบแทนของการลงทุน โดยดูจากดัชนี IRR

ผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรพบว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม (ส่วนต่อขยาย BTS) เป็นโครงการที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าสายอื่น (ตารางที่ 2) แต่รัฐบาลกลับไม่สนับสนุนการลงทุนในรถไฟฟ้า 2 สายนี้ก่อน และดูเหมือนมีทีท่าพยายามกีดกันไม่ให้ กทม.ทำส่วนต่อขยาย BTS ด้วย

ข้อสรุปของพฤติกรรมดังกล่าวของรัฐบาลที่น่าจะเป็น คือ เป็นเหตุผลทางการเมือง เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ หลักการในการจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาลนี้ จึงเป็นไปเพื่อคะแนนนิยมทางการเมืองเป็นสำคัญ มิใช่เพื่อผลประโยชน์โดยส่วนรวมของประเทศชาติ

Thursday, September 17, 2009

Kriengsak Chareonwongsak The general public including the business sector will lose

The general public including the business sector will lose

TAMC regulations mean only one thing to the average citizen or businessperson: higher taxes. The public and businesses will be used as scapegoats to shoulder the burden of more than 20% NBV NPLs. Actually, under present economic conditions, there is a higher likelihood of loss than gain on TAMC investments. Why? First, because financial institutions lack confidence in the management abilities of TAMC, they will likely transfer as many of their non-performing debts – especially those with a probability of incurring more than 40% NBV losses – to the TAMC. Secondly, because the TAMC is viewed as a public institution in the sense that it is under government jurisdiction, there would be little motivation for the TAMC to effectively administer its debts. As well, under such a system, the pressure of answering to creditors would decrease considerably, as government and professional managers will hold the debts. Third, decision making by the many sets of committees could be severely delayed by public lobbies, resulting in indecision and tardiness. Undoubtedly, much pressure will be put on the TAMC to ensure unilateral treatment in all cases, thus opening the door to inappropriate political intervention.

The government must give more thought to the details of its TAMC. It must garner input from those who stand to gain as well as those who stand to lose in order to prevent the good intentions behind the establishment of the TAMC from being mistakenly corrupted. Now is not the time to experiment with a system that may result in heavy burdens on the many for the benefit of the few. Inequality has never solved problems in society.
 
 
Social security for small businesses - losses and gains
Professor Dr Kriengsak Chareonwongsak
Executive Director, Institute of Future Studies for Development (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, http://www.ifd.or.th

Thursday, July 9, 2009

เศรษฐกิจโดยรวมของไทยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง

หน้าแรก     บทความ     Down Load     เชื่อมโยง    

สมุดเยี่ยม

บทความปี 2004 p2
    บทความปี 2004 p1     บทความปี 2003 p2     บทความปี 2003 p1     บทความปี 2002
ความท้าทายทางธุรกิจในปี 2548

ศจ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์   กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2547

ตั้งแต่ปลายปี 2546 เศรษฐกิจโดยรวมของไทยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GPD) ที่สูงถึงร้อยละ 7.8 อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทย การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการขยายตัวกว้างขวาง

ถึงกระนั้นผลพวงจากการเติบโต ทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายประการ ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2547 จนถึงปี 2548 ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 82,485 บาท/ครัวเรือน ในปี 2545 เป็น 110,133 บาท/ครัวเรือน ในไตรมาสแรกของปี 2547 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อของประชาชนที่จะลดลงในอนาคต

ความเสี่ยงในการเกิดภาวะอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการเติบโตอย่างร้อนแรงของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2546 จนถึงต้นปี 2547 จะทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างปริมาณอสังหาริมทรัพย์ที่เสนอขายในตลาด กับการขยายตัวของกำลังซื้อภาคประชาชนในขณะนี้ ส่งผลให้เกิดอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำลง

ความวิตกเกี่ยวกับปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ Non-Performing Loans (NPLs) ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกรุงไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 7.78 ในไตรมาสแรกของปี 2547 มาเป็นร้อยละ 12.29 ในไตรมาส 2

ปรากฏการณ์ทั้ง 3 ประการ เมื่อประกอบกับปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในปี 2548 สะท้อนให้เห็นว่าปี 2548 จะเป็นปีที่เต็มด้วยความท้าทายต่อภาคธุรกิจไทยอย่างมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีดังต่อไปนี้

สถานการณ์ด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอาจลดกำลังการผลิตลงในปี 2548

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลจากระดับราคาน้ำมันที่กดดันให้สินค้าภายในประเทศมีราคาสูงขึ้น และทิศทางอัตราเงินเฟ้อโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลทำให้ประชาชนอาจต้องแบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายในปี 2548 มากขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง เป็นผลจากการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ และภาวะการซบเซาลงของตลาดทุนในประเทศไทย ส่งผลทำให้สินค้าทุนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น

อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากแรงกดดันของอัตราแลกเปลี่ยนที่เริ่มอ่อนค่าลง รวมทั้งระดับเงินเฟ้อและหนี้สินภาคครัวเรือนที่กำลังสูงขึ้น ส่งผลให้ในปี 2548 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

จากปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยอาจไม่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 8 ดังที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงต้นปี และมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปลายปีนี้ อาจเติบโตได้ร้อยละ 6.8-7.8 เท่านั้น ส่วนปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 6-7.5 ซึ่งลดลงจากปี 2547 นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

ภาคธุรกิจของไทยในปี 2548 อาจต้องประสบกับความท้าทายอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

การแข่งขันของอุตสาหกรรมต่างๆ จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่อำนาจซื้อลดลงและภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น อีกทั้งการที่ประเทศไทยเปิดเสรีการค้ามากขึ้น ทำให้ในปี 2548 ผู้ผลิตอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นได้

ต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำมัน การขนส่งและวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศจะได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป จากทั้งปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความท้าทายที่มีต่อภาคธุรกิจในปี 2548 ทำให้ปีที่จะมาถึงนี้ อาจไม่ใช่ปีที่สดใสมากนัก แต่ถึงกระนั้นเศรษฐกิจไทยโดยรวมอาจจะไม่ซบเซาจนเกินไป เพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ปี 2548 จึงอาจเป็นปีที่เต็มด้วยการแข่งขันและความท้าทายต่อนักธุรกิจและผู้กำหนดนโยบาย ที่จะต้องนำพาองค์กรและประเทศให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้

++++++++

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะทำงานการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ kriengsak@kriengsak.com


บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

Monday, January 12, 2009

"30 บาท" พาชาติล่มจมจริงหรือ?


"30 บาท" พาชาติล่มจมจริงหรือ?

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง    กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2545

ยังไม่รู้ว่า ในที่สุดแล้วประชาชนผู้เสียภาษี จะแบกภาระจากโครงการเหล่านี้คนละเท่าไร ยังไม่มีภาพว่าภาระของโครงการ 30 บาท จะเป็นอย่างไรในระยะยาว
credit image from bangkokbiznews.com

ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่พรรคไทยรักไทยประกาศ "นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค" นั้น มีเรื่องเล่าว่า ผู้สมัคร ส.ส.หลายคน ไม่กล้านำนโยบายนี้มาหาเสียง เพราะคิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ ที่พรรคจะสามารถนำนโยบายนี้มาใช้จริง กรณีที่ได้รับเลือกตั้ง

ผู้สมัคร ส.ส.กลุ่มนั้นคงไม่ใช่คนส่วนน้อยที่มีภาพเช่นนั้น เมื่อได้ยินคำว่า "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" เพราะคำถามที่ยังได้ยิน อยู่ทุกวันนี้ มีตั้งแต่ "30 บาท จะเอาเงินมาจากไหน" "30 บาท ทำประเทศล่มจมแน่" ไปจนถึง "30 บาท จะเพิ่มหนี้ให้คนไทยอีกเท่าไร"

ในขณะเดียวกัน เมื่อร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าสภา ก็จะได้ยินข่าวลือว่า "รัฐบาลจะรวมกองทุนประกันสังคม เพื่อเอาเงินมาโปะ 30 บาท" และ "รัฐบาลจะเปลี่ยนโครงการสวัสดิการข้าราชการ เพื่อเอาเงินมาโปะโครงการ 30 บาท"

และก็มีข่าวว่า "โครงการ 30 บาท มีงบไม่พอ ต้องไปเอามาเพิ่มจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ" สารที่ "ข่าว" เหล่านี้สื่อออกมา ดูจะสอดคล้องกับความกังวลของแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ อีกจำนวนไม่น้อย และสอดคล้องกับความห่วงใย ของผู้คนจำนวนมากว่า "โครงการ 30 บาท ให้เงิน รพ.น้อยเกินไป"

ถึงแม้ว่าถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ก็อาจจะมีคำถามได้เช่นกันว่า ถ้า รพ.เองยังได้เงินไม่พอแล้ว โครงการนี้จะสามารถเป็น "ตัวการ" ทำประเทศล่มจมได้หรือ? แม้ว่าเราจะไม่สามารถตอบคำถามนี้ด้วยคำว่า "ไม่" แต่คำตอบ ณ วันนี้ก็คือ "ยังไม่ใช่"

ปัญหาประการหนึ่งของโครงการนี้ก็คือ วิธีการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ได้ทำอย่างโปร่งใสนัก โดยหลังจากที่รัฐบาลได้ผันโครงการ 30 บาท ออกมาชิมลาง "นำร่อง" ตั้งแต่ต้นปี 2544 และได้ฤกษ์เริ่มโครงการ "ตกร่อง" ของจริงในปีงบประมาณ 2545 นั้น จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบให้โครงการ 30 บาทในปีงบประมาณ 2545 เพียง 47,998 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ เป็นงบที่จะส่งให้สถานพยาบาลประมาณ 45,000 ล้านบาท

ซึ่งเมื่อหารด้วยอัตราที่รัฐบาลเหมาจ่าย ให้โรงพยาบาล 1,202.40 บาท/คนแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า งบนี้เพียงพอสำหรับผู้มีสิทธิ 37.4 ล้านคนเท่านั้น ทั้งที่กระทรวงสาธารณสุข ประมาณการเอาไว้ตั้งแต่แรกว่า จะมีประชากรที่มีสิทธิในโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 46 ล้านคน

จริงอยู่ ในช่วงที่สำนักงบประมาณจัดสรรงบนั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่า โครงการนี้จะดำเนินการพร้อมกันทั้งประเทศในเดือนตุลาคม 2544 แต่ก็ดูเหมือนว่า วิธีการจัดสรรงบในปีงบประมาณ 2546 จะสอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่า สิ่งที่สำนักงบประมาณพยายามทำก็คือ จัดสรรงบให้ต่ำเอาไว้ก่อน โดยไม่สนใจว่า รัฐบาลมีพันธะสัญญาอะไรกับใครอย่างไรบ้าง

หลายท่านอาจบอกว่า นั่นคือหน้าที่ของสำนักงบประมาณ แต่ก็จะต้องไม่ลืมว่าสำนักงบประมาณมีหน้าที่ "จัดสรร" งบให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ซึ่งอาจจะหมายความว่า ในแต่ละปี สำนักงบประมาณมีหน้าที่ตัดงบบางหน่วยงานลง และไปเพิ่มให้บางหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ไม่ใช่เพิ่มงบให้ทุกหน่วยงานทุกปี โดยแบ่งกันไปหน่วยงานละนิดละหน่อย

ถ้าถามว่าตัวเลข 47,998 ล้านบาท มาจากไหน สำนักงบประมาณก็คงจะหามาแสดงให้ดูได้ แต่ถ้าดูในภาพรวมก็จะเห็นได้ว่า ตัวเลขนี้ทำให้งบของกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้นจาก 61,097 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2545 ขึ้นมาเป็น 65,876 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2545 หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.8

ในสถานการณ์ปกตินั้น การที่กระทรวงสาธารณสุขได้งบเพิ่มขึ้น ในอัตรานี้คงจะถือได้ว่าไม่น้อย แต่หลังจากที่มีโครงการ 30 บาทแล้ว กระทรวงสาธารณสุข จะต้องแบ่งงบบางส่วนให้ รพ.ในสังกัดกระทรวงอื่น และโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการด้วย ซึ่งถ้าหักแค่งบส่วนแรกออก ก็พอจะเห็นได้ว่า งบที่สำนักงบประมาณจัดให้นั้น ไม่ได้เปลี่ยนไปจากงบที่เคยจัดสรรให้ ในระบบเดิมแต่อย่างใด

โดยถ้าไม่มีโครงการ 30 บาท สำนักงบประมาณก็คงจะจัดงบ ให้กระทรวงสาธารณสุข พอๆ กับที่จัดสรรให้ในปีงบประมาณนี้ จึงหนีไม่พ้นที่โครงการ 30 บาทจะใช้เงินมากกว่างบที่ตั้งเอาไว้ และในที่สุดต้องไปเอามาเพิ่มจากงบกลาง (ซึ่งรัฐบาลเรียกว่า งบกระตุ้นเศรษฐกิจ) อีก 5,000-7,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าจะว่ากันไปแล้ว งบส่วนนี้คืองบที่โครงการ 30 บาทได้รับ "เพิ่มขึ้น"  จากเดิมจริงๆ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา

สรุปแล้วในปีแรกของโครงการ 30 บาทนั้น ที่ให้สิทธิการรักษาพยาบาล กับประชาชนเพิ่มขึ้น 26 ล้านคนนั้น รัฐบาลต้องควักกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท เฉลี่ยแล้วตก 400 บาทต่อคน สำหรับคนที่ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นจากโครงการนี้  เงินหนึ่งหมื่นล้านบาทนี้คิดเป็นร้อยละ 1 ของงบประมาณทั้งปี

ซึ่งเป็นเงินจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับโครงการอื่นๆ ของรัฐบาล ตั้งแต่ TAMC ไปจนถึงโครงการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ว่า ในที่สุดแล้วประชาชนผู้เสียภาษีจะแบกภาระ จากโครงการเหล่านี้กันคนละเท่าไร เรายังไม่มีภาพว่า ภาระของโครงการ 30 บาท จะเป็นอย่างไรในระยะยาว แต่ภาพการต่อรองงบประมาณในปีงบประมาณ 2546 ที่กำลังจะมาถึง ก็ไม่ได้ต่างจากภาพในปีที่ผ่านมาเท่าใดนัก

ทั้งนี้ สำนักงบประมาณตั้งเป้าไว้ตั้งแต่แรกว่า จะให้งบกระทรวงสาธารณสุข 70,000 ล้านบาท โดยยังคงใช้ตัวเลขเหมาจ่าย 1,202.40 บาท/คน ในการคำนวณ ทั้งๆ ที่คณะอนุกรรมการการเงินการคลัง ภายใต้คณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน จะคำนวณตัวเลขออกมาอยู่ที่ 1,414 บาท/คน และกระทรวงสาธารณสุข จะปรับตัวเลขนี้ลงมาเหลือ 1,322 บาท/คน

โดยใช้ข้อสมมติว่า ผู้มีสิทธิส่วนหนึ่งจะยังไม่มาใช้บริการ การที่สำนักงบประมาณยังคงตั้งงบประมาณสำหรับโครงการนี้ไว้ต่ำกว่า ตัวเลขที่กระทรวงสาธารณสุข จะจ่ายให้สถานพยาบาล จะนำไปสู่วัฏจักรเดิมที่เกิดขึ้นในปีนี้ กล่าวคือ เมื่อถึงปลายปีงบประมาณหน้า กระทรวงสาธารณสุข จะต้องมาของบเพิ่มเติมจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ

และงบที่ดูเหมือนว่า จะน้อยเมื่อตอนต้นปี ก็จบลงด้วยข่าวที่ว่า "โครงการ 30 บาท งบไม่พอ ต้องไปเอามาเพิ่มจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ" อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ในที่สุดแล้วสำนักงบประมาณ หรือรัฐบาลจะได้หรือเสียจากการจัดการงบประมาณโดยวิธีนี้

แต่ไม่ว่ากลวิธีการเสนอตัวเลขจะเป็นอย่างไร เราก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าโครงการ 30 บาทคงจะได้งบเพิ่มขึ้นไม่มากนัก และคงจะไม่มีโอกาส นำพาประเทศชาติล่มจมได้อย่างที่หลายฝ่ายกลัว แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันว่า วิธีการจัดสรรงบแบบนี้ จะสร้างความกังวล กับสถานพยาบาลจำนวนมาก และโรงพยาบาลหลายแห่ง จะพยายามแก้ความกังวลนี้ โดยพยายามลดค่าใช้จ่ายลง โดยจำกัดการเข้าถึงบริการหรือคุณภาพของบริการ

ในขณะเดียวกันกับที่ประชาชนที่ถือ "บัตรทอง" ก็จะเรียกร้องคุณภาพ ของบริการมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายจึงจะยังคงมีความทุกข์ (ในคนละแบบ) กันต่อไป

+++++++++

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย และเป็นหัวหน้าโครงการ ติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า TDR)